ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการดำเนินชีวิต การสนับสนุนทางสังคม กลุ่มอาการ กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

Authors

  • สุจิตราภรณ์ พิมพ์โพธิ์
  • ชนกพร จิตปัญญา
  • จรรยา ฉิมหลวง

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการดำเนินชีวิต การสนับสนุนทางสังคม กลุ่มอาการ กับ ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพุทธโสธร ฉะเชิงเทรา และ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 90 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินแบบแผนการดำเนินชีวิต แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินอาการโรคหัวใจ และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าที่ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินได้เท่ากับ 0.71, 0.94, 0.92, 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีภาวะซึมเศร้าในระดับเล็กน้อย โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  16.12 คะแนน (S.D. = 6.77) แบบแผนการดำเนินชีวิตและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (r = -.374 และ - .300 ตามลำดับ) และกลุ่มอาการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (r = .701) พยาบาลควรส่งเสริมผู้ป่วยให้มีแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสม   ส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมทั้งภายในและภายนอกครอบครัวและป้องกันการเกิดกลุ่มอาการ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
คำสำคัญ :  แบบแผนการดำเนินชีวิต การสนับสนุนทางสังคม กลุ่มอาการโรคหัวใจ  ภาวะซึมเศร้า

Downloads

Published

2013-01-21

How to Cite

พิมพ์โพธิ์ ส., จิตปัญญา ช., & ฉิมหลวง จ. (2013). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการดำเนินชีวิต การสนับสนุนทางสังคม กลุ่มอาการ กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. Princess of Naradhiwas University Journal, 5(1). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53929