ผลของโปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาต่อความรู้และการดูแลตนเองด้านจิตใจในสตรีหม้ายจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Authors

  • กรวิกา บวชชุม
  • วินีกาญจน์ คงสุวรรณ
  • วันดี สุทธรังษี

Keywords:

การดูแลตนเองด้านจิตใจ, ความรู้สุขภาพจิตศึกษา, สตรีหม้าย, สถานการณ์ความไม่สงบ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาต่อความรู้และการดูแลตนเองด้านจิตใจในสตรีหม้ายจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีหม้ายจาก
สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปัตตานี โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 25 คน เครื่องมือที่
ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ แบบประเมินการดูแลตนเองด้านจิตใจ และโปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษา เครื่องมือวิจัยได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และทดสอบค่า
ความเที่ยงของแบบประเมินความรู้ โดยการหาค่าคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR-20) ได้เท่ากับ .93 และทดสอบค่าความเที่ยงของแบบประเมินการดูแลตนเองด้านจิตใจ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้เท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า
ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ฟิชชเชอร์แอกแซก สถิติทีคู่และสถิติทีอิสระ
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีความรู้และการดูแลตนเองด้านจิตใจหลังได้รับโปรแกรมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) กลุ่มทดลองมีความรู้และการดูแลตนเองด้านจิตใจสูงกว่ากลุ่มควบ
คุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นพยาบาลจึงควรนำไปใช้ในการเพิ่มความรู้และการดูแลตนเองด้านจิตใจแก่สตรีหม้ายจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

Downloads

Published

2016-05-04

How to Cite

บวชชุม ก., คงสุวรรณ ว., & สุทธรังษี ว. (2016). ผลของโปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาต่อความรู้และการดูแลตนเองด้านจิตใจในสตรีหม้ายจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(2), 54–65. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/56208

Issue

Section

บทความวิจัย