การศึกษาการเปรียบเทียบความสามารถในการผลิตสารทุติยภูมิจากใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ของถั่วดาวอินคาเพื่อรองรับการผลิตใบชาเพื่อชุมชน ของจังหวัดนราธิวาส

Authors

  • รักชนก ภูวพัฒน์

Keywords:

สารทุติยภูมิ, ใบถั่วดาวอินคา, นราธิวาส

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่วงอายุที่เหมาะสมของใบถั่วดาวอินคา (ใบอ่อน, ใบเพสลาด และ ใบแก่) ต่อความสามารถในการผลิตสารทุติยภูมิ โดยสกัดสารจากใบถั่วดาวอินคาทั้ง 3 ระยะ แล้วตรวจสอบชนิดของสารทุติยภูมิ
ด้วยเทคนิค GC-MS ผลการศึกษาพบว่า ใบเพสลาดเป็นใบที่มีความสามารถผลิตสารทุติยภูมิได้หลากหลายชนิด ได้แก่ 2-Propanone, 1-hydroxy, 2-Pentanone, 4- hydroxy-4-methyl, 2,3-Dihydro-benzofuran, 4-Vinyl-syringol และ 2-Hexadecan-1-
ol,3,7,11,15-tetramethyl ไม่พบ 2-Methoxy-4-vinylphenol ในใบอ่อนและใบแก่ ในขณะที่ไม่พบ 2-Hexadecen-1-ol,3,7,11,15- tetramethyl และ 2-Methoxy-4-vinylphenol ในใบแก่ สารที่พบทั้งหมดในการศึกษานี้เป็นสารที่มีคุณสมบัติทาง
เภสัชวิทยา

Downloads

Published

2016-05-04

How to Cite

ภูวพัฒน์ ร. (2016). การศึกษาการเปรียบเทียบความสามารถในการผลิตสารทุติยภูมิจากใบอ่อน ใบเพสลาดและใบแก่ของถั่วดาวอินคาเพื่อรองรับการผลิตใบชาเพื่อชุมชน ของจังหวัดนราธิวาส. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(2), 125–133. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/56214