การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์: เปรียบเทียบแนวคิดและวิธีการระหว่าง SAW AHP และ TOPSIS
Keywords:
การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์, การรวมแบบถ่วงน้ำหนักอย่างง่าย, กระบวนการวิเคราะห์แบบลำดับชั้น, เทคนิคเรียงลำดับตามอุดมคติAbstract
การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 3 ประการคือการหาวิธีในการแก้ปัญหา การเสนอทางเลือก และการตัดสินใจเลือก โดยเป้าหมายสำคัญของการวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์คือ การเลือกทางเลือก
ที่ดีที่สุดจากทางเลือกทั้งหมด บทความนี้นำเสนอแนวคิดและวิธีการวิเคราะห์การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ 3 วิธีการ ได้แก่ การรวมแบบถ่วงน้ำหนักอย่างง่าย กระบวนการวิเคราะห์แบบลำดับชั้นและ เทคนิคเรียงลำดับตามอุดมคติ ข้อดีของ SAW
คือไม่ยุ่งยาก แต่ข้อเสียคือผลการวิเคราะห์มักให้ค่าความเหมาะสมเกินความเป็นจริง ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นหรือการวิเคราะห์อย่างหยาบ ส่วนกระบวนการวิเคราะห์แบบลำดับชั้นจะให้ความสำคัญอยู่กับการเรียงลำดับชั้นของการทำงานและการเปรียบเทียบองค์ประกอบที่ใช้ในการตัดสินใจทีละคู่ ซึ่งมีข้อเสียคือความยุ่งยากในการคำนวณค่าที่ได้จากการตัดสินใจทีละคู่และการหาค่าความสอดคล้องแต่มีข้อดีคือช่วยขจัดการตัดสินใจที่มีความลำเอียง ส่วนเทคนิคเรียงลำดับตามอุดมคติ จะให้ความสำคัญกับการกำหนดค่าอุดมคติในเชิงบวกและเชิงลบ ทางเลือกที่ดีที่สุดคือการเข้าใกล้จุดอุดมคติเชิงบวกและไกลจากจุดอุดมคติเชิงลบมากที่สุด ซึ่งแตกต่างกับวิธีการรวมแบบถ่วงน้ำหนักอย่างง่ายและกระบวนการวิเคราะห์แบบลำดับชั้นที่เลือกทางเลือกที่ดีที่สุดจากผลรวมค่าคะแนนที่มากที่สุด ข้อดีของส่วนเทคนิคเรียงลำดับตามอุดมคติ คือทำให้ทราบถึงสิ่งที่ดีที่สุดและสิ่งที่แย่ที่สุดของข้อมูลแต่ละเรื่อง ส่วนข้อเสียอยู่ที่การคำนวณความสัมพันธ์ในการเข้าใกล้จุดอุดมคติที่ซับซ้อน อย่างไรก็ตามสองสิ่งที่สำคัญที่ต้องระวังในการวิเคราะห์แบบหลายหลักเกณฑ์ คือ กฎเกณฑ์การตัดสินใจและเกณฑ์การถ่วงน้ำหนัก เนื่องจากสองสิ่งนี้ส่งผลต่อการคำนวณทางเลือกที่เหมาะสม