การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Authors

  • รสสุคนธ์ แสงมณี

Keywords:

การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Abstract

การวิจัยนี้ศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 378
คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่า
IOC= 0.88 และคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลตนเองเพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยใช้สมุนไพร ร้อยละ 74.07 ส่วนใหญ่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงจากเพื่อน
เพื่อนบ้าน บุคลากรสาธารณสุข และญาติ โดยเชื่อว่า การรับประทานยาสมุนไพรร่วมกับยาแพทย์แผนปัจจุบันจะรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 82.54 และพบว่า มีการใช้สมุนไพรร่วมกับการรักษาด้วยยา ร้อยละ 74.07 มีพฤติกรรมการดูแลตน
เองโดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรายด้านสูงสุด คือ การงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (x=2.69, S.D.=0.52) และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การออกกำลังกาย (x=1.72, S.D.=0.68) ข้อค้นพบนี้ ชี้ให้เห็นว่าส่วนใหญ่มีการใช้สมุนไพรร่วมกับการรักษา
ด้วยยาแพทย์ แผนปัจจุบัน ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขควรให้ความสำคัญโดยให้ความรู้และคำแนะนำที่ถูกต้อง

Downloads

How to Cite

แสงมณี ร. (2017). การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(2), 1–13. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/85607