ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ

Authors

  • ดวงกมล สุวรรณ์
  • วิภา แซ่เซี้ย
  • ประณีต ส่งวัฒนา

Keywords:

ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, บาดเจ็บหลายระบบ, ผู้ป่วยอุบัติเหตุ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง
จำนวน 20 คน เป็นผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาในช่วง 14 วันแรก ในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ มีระดับการบาดเจ็บที่รุนแรงสาหัสถึงรุนแรงมาก (Injury Severity Score 16 - 49 คะแนน) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความสามารถ
ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 10 กิจกรรม (Barthel index) ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 70 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 45.35 ปี (S.D. = 16.48) ระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บเฉลี่ยเท่ากับ 29.05 (S.D. = 5.62) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโดยรวมอยู่ในระดับ ช่วย
เหลือตนเองได้เล็กน้อย ผู้ป่วยร้อยละ 35 ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เลย และร้อยละ 25 ช่วยเหลือตนเองได้เล็กน้อย ร้อยละ 15 ช่วยเหลือตนเองได้ปานกลาง ร้อยละ 20 ช่วยเหลือตนเองได้มาก และร้อยละ 5 ช่วย
เหลือตนเองได้โดยอิสระ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ร้อยละ 95 ต้องพึ่งพาญาติผู้ดูแลในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ดังนั้นพยาบาลควรพัฒนาโปรแกรมเพื่อสอน ชี้แนะ ให้ญาติผู้ดูแลสามารถให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยใน
การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

How to Cite

สุวรรณ์ ด., แซ่เซี้ย ว., & ส่งวัฒนา ป. (2017). ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(2), 14–25. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/85608