การตรวจวัดไอออนเหล็กโดยใช้แอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบแดง

Authors

  • รวิวรรณ วัฑฒนายน
  • ซูรายา สะตาปอ
  • บิสมี ยามา
  • สาลูมา สมานหมาน
  • ปิยาภรณ์ วังศิริกุล

Keywords:

แอนโทไซยานิน, กระเจี๊ยบแดง, ไอออนเหล็ก

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณไอออนเหล็กในน้ำตัวอย่าง โดยการใช้แอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบแดงเป็นตัวตรวจวัด แอนโทไซยานินจะเกิดสารเชิงซ้อนกับไอออนเหล็กทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าการดูดกลืน
แสงและสามารถมองเห็นการเปลี่ยนสีของสารละลายด้วยตาเปล่า จากการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการตรวจวัดไอออนโลหะ พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการตอบสนองของแอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบแดงต่อไอออนเหล็ก คือ ที่ pH 5 โดยแอ
นโทไซยานินมีความจำเพาะต่อไอออนเงินมากกว่าแคตไอออนชนิดอื่นๆ และสามารถนำแอนโทไซยานินไปประยุกต์ใช้ในการตรวจวัดไอออนเหล็กในน้ำตัวอย่างจริง ได้แก่ น้ำดื่ม น้ำทะเล และน้ำเขื่อนได้เป็นผลสำเร็จ โดยพบว่าไม่เกิดการ
รบกวนขององค์ประกอบอื่นๆในน้ำตัวอย่าง

Downloads

How to Cite

วัฑฒนายน ร., สะตาปอ ซ., ยามา บ., สมานหมาน ส., & วังศิริกุล ป. (2017). การตรวจวัดไอออนเหล็กโดยใช้แอนโทไซยานินจากกระเจี๊ยบแดง. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(2), 97–103. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/85617

Issue

Section

บทความวิจัย