การศึกษาสภาพการเลี้ยงกระบือและคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงกระบือของเกษตรกรในจังหวัดปัตตานี

Authors

  • เทียนทิพย์ ไกรพรม
  • มูฮำหมัด ฮะมะ
  • ธีรศักด์ ศรีจรูญ

Keywords:

กระบือ, คุณค่าทางโภชนะ, พืชอาหารสัตว์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยงกระบือและคุณค่าทางโภชนะพืชอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงกระบือของเกษตรกรในจังหวัดปัตตานี โดยประชากรที่ศึกษาคือ เกษตรกรที่เลี้ยงกระบือในจังหวัดปัตตานี จำนวน 393 ครัวเรือน
สุ่มตัวอย่างจำนวน 198 ครัวเรือน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52 ปี นับถือศาสนาอิสลาม ส่วน
ใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา และมีประสบการณ์ในการเลี้ยงกระบือ 6.7 ปี จำนวนกระบือที่เลี้ยงมีจำนวน 4-7 ตัวต่อคน ส่วนใหญ่จะเลี้ยงกระบือปลัก มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยง 987 บาทต่อตัวต่อปี และมีรายได้จากการขายกระบือ 9807 บาท
ต่อตัวต่อปี โดยวิธีการเลี้ยงจะปล่อยกระบือลงไปแทะเล็มในแปลงหญ้า มีพื้นที่ที่ใช้ในการเลี้ยงกระบือ 2.3 ไร่ พืชที่เกษตรกรนิยมนำมาเลี้ยงกระบือได้แก่ กระถิน หญ้าขน ใบขนุน โดยมีค่าวัตถุแห้ง โปรตีน ผนังเซลล์ ลิกโนเซลลูโลสและเถ้าอยู่ใน
ช่วง 16.83-26.65, 10.59-30.31, 20.38-70.30 15.83-37.36 และ 5.74-10.80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้เกษตรกรนิยมนำฟางข้าวมาใช้เลี้ยงกระบือ

Downloads

How to Cite

ไกรพรม เ., ฮะมะ ม., & ศรีจรูญ ธ. (2017). การศึกษาสภาพการเลี้ยงกระบือและคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงกระบือของเกษตรกรในจังหวัดปัตตานี. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(2), 104–112. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/85618