การปรับสภาพกระดาษสำนักงานและกระดาษหนังสือพิมพ์โดยวิธีทางเคมีและกายภาพร่วมกับเคมี

Authors

  • ปิยาภรณ์ วังศิริกุล
  • นูรมี และปานา
  • ซัมมีรา โซ๊ะโก
  • สาลูมา สมานหมาน
  • รวิวรรณ วัฑฒนายน

Keywords:

การปรับสภาพ, การปรับสภาพวิธีทางเคมี, การปรับสภาพกายภาพร่วมกับเคมี

Abstract

การศึกษาการปรับสภาพที่เหมาะสมของกระดาษสำนักงานและกระดาษหนังสือพิมพ์โดยวิธีทางเคมีและกายภาพร่วมกับเคมี เมื่อนำกระดาษสำนักงานมาปรับสภาพทางเคมีที่ดีที่สุด คือ กรดไฮโดรคลอริก 3 โมลาร์ มีปริมาณเซลลูโลส
92.60% ลิกนิน 1.60% และเฮมิเซลลูโลส 5.90% เมื่อนำกระดาษสำนักงานมาผ่านการปรับสภาพด้วยสารละลายไฮโดรคลอริก ความเข้มข้น 3 โมลาร์ ร่วมกับความดันไอน้ำที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที จะมีปริมาณเซลลูโลสเพิ่มขึ้น
(94.39%) แต่มีปริมาณลิกนิน (1.10%) และเฮมิเซลลูโลสลดลง (4.51%) ส่วนกระดาษหนังสือพิมพ์การปรับสภาพทางเคมีที่ดีที่สุด คือ โซเดียม ไฮดรอกไซด์ 3 โมลาร์ มีเซลลูโลส 91.45% ลิกนิน 28.33% และเฮมิเซลลูโลส 21.78% ส่วนกระดาษ
หนังสือพิมพ์ ผ่านการปรับสภาพด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้น 3 โมลาร์ ร่วมกับความดันไอน้ำที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที จะมีปริมาณเซลลูโลสเพิ่มขึ้น (97.00%) แต่มีปริมาณลิกนิน (21.00%) และเฮมิ
เซลลูโลสลดลง (18.00%) ดังนั้น การปรับสภาพด้วยเคมีร่วมกับกายภาพมีประสิทธิภาพดีกว่าเคมีเพียงอย่างเดียว เซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลสที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีของกระดาษสำนักงานและกระดาษหนังสือ นำไปไฮโดรไลซ์ด้วยกรดและ
เอนไซม์ ได้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวมาใช้การหมักไบโอเอทานอล

Downloads

How to Cite

วังศิริกุล ป., และปานา น., โซ๊ะโก ซ., สมานหมาน ส., & วัฑฒนายน ร. (2017). การปรับสภาพกระดาษสำนักงานและกระดาษหนังสือพิมพ์โดยวิธีทางเคมีและกายภาพร่วมกับเคมี. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(2), 113–121. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/85619