คุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาช่อนในช่วงเก็บเกี่ยวและเทคนิคการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีการถ่ายน้ำและการตกตะกอนในบ่อเลี้ยง

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี โกยดุลย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • เจษฎา อิสเหาะ สาขาวิชาวิทยาศาตร์การประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • วราห์ เทพาหุดี ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ประไพพรรณ สิทธิกูล สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

บำบัดน้ำทิ้ง, บ่อเลี้ยงปลาช่อน, ปลาช่อน

บทคัดย่อ

น้ำทิ้งที่ระบายออกจากบ่อเลี้ยงปลาช่อนแบบหนาแน่นระหว่างการเก็บเกี่ยว มักมีคุณภาพต่ำ ไม่ผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด พ.ศ. 2550 และสร้างมลภาวะ จึงจำเป็นต้องศึกษาและปรับปรุง ด้วยเทคนิคการถ่ายน้ำและตกตะกอนที่มีประสิทธิภาพ จากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำภายในบ่อเลี้ยงปลาช่อนของเกษตรกร จังหวัดอ่างทอง ก่อนเริ่มเก็บเกี่ยว ระหว่างการเก็บเกี่ยว  และระหว่างการการตกตะกอนน้ำทิ้ง 48ชั่วโมง พบว่า คุณภาพน้ำในบ่อปลาช่อน มีความแตกต่างกันในทุกระดับความลึก (p<0.05) โดยคุณภาพลึกกว่า 100 เซนติเมตร จากผิวน้ำไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานและการสูบน้ำทิ้งด้วยเครื่องพญานาคโดยวางหัวกะโหลกติดกับพื้นก้นบ่อ ทำให้ตะกอนฟุ้งกระจายและคุณภาพน้ำทิ้งโดยรวมทั้งบ่อตลอดการเก็บเกี่ยวไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยปริมาณสารแขวนลอยในน้ำเป็นปัญหาสำคัญ และใช้เวลาในการตกตะกอนนานที่สุด การบำบัดน้ำทิ้งด้วยวิธีการตกตะกอน 24 ชั่วโมงช่วยเพิ่มคุณภาพน้ำทิ้งจนผ่านเกณฑ์มาตรฐานได้ทุกค่า

โดยสรุปแนะนำว่า เกษตรกรต้องพัฒนาเทคนิคการระบายน้ำทิ้งที่ไม่รบกวนตะกอนพื้นบ่อให้ฟุ้งกระจาย ไม่ทำให้น้ำขุ่น โดยอาจใช้ท่อระบายน้ำเป็นข้องอ ใช้วิธีกาลักน้ำ หรือให้ยกปลายหัวกะโหลกท่อสูบน้ำสูงกว่าพื้นก้นบ่อระหว่างระบายน้ำบนของบ่อ และบำบัดเฉพาะน้ำส่วนใกล้พื้นบ่อซึ่งมีปริมาณเหลือน้อยแล้วต่อไป

Author Biographies

สุภาวดี โกยดุลย์ , สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง  คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  13000

เจษฎา อิสเหาะ, สาขาวิชาวิทยาศาตร์การประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง  คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

วราห์ เทพาหุดี, ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  คณะประมง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  จังหวัดกรุงเทพมหานคร  13000

ประไพพรรณ สิทธิกูล, สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

สาขาวิชาสัตวศาสตร์  คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  13000

References

APHA. 2005. Standard Methods of the Examination of Water and Wastewater. 22th edition. United Books Press, Maryland.

Ayub, M., Boyd, C.E. and Teichert-Coddington, D. 1993. Effects of urea application, aeration, and drying on total carbon concentrations in pond bottom soils. The Progressive Fish Culturist 55(3): 210-213.

Boyd, C.E. 1995. Bottom Soils, Sediment and Pond Aquaculture. Chapman and Hall, New York.

Cole, B.A. and Boyd, C.E. 1985. Feeding rate, water quality, and channel catfish production in ponds. The Progressive Fish Culturist 48(1): 25-29.

Gooley, G.J., DeSilva, S.S., Hone, P.W., McKinnon, L.J. and Ingram, B.A. 2000. Cage aquaculture in Australia: a developed country perspective with reference to integrated aquaculture development within inland waters, pp. 21-37. In Proceedings of the First International Symposium on Cage Aquaculture in Asia. Manila, Philippines.

Gutierrez-Wing, M.T. and Malone, R.F. 2006. Biological filters in aquaculture: Trends and research directions for freshwater and marine applications. Aquacultural Engineering 34(3): 163-170.

Halver, J.E. and Hardy, R.W. 2002. Fish Nutrition. 3rd edition. Academic Press, San Diego.

Islam, M.S. 2005. Nitrogen and phosphorus budget in coastal and marine cage aquaculture and impacts of effluent loading on ecosystem: review and analysis towards model development. Marine Pollution Bulletin 50(1): 48-61.

Munsiri, P., Boyd, C.E., Teichert-Coddington, D. and Hajek, B.F. 1996. Texture and chemical composition of soils from shrimp ponds near Choluteca, Honduras. Aquaculture International 4(2): 157-168.

National of the Ministry of Natural Resources and Environment. 2007. Effluent Standard for Inland Aquaculture, dated November 23, B.E.2550 (2007). Published documents, National of the Ministry of Natural Resources and Environment. (in Thai).

Raveh, A. and Avnimelech, Y. 1979. Total nitrogen analysis in water, soil and plant material with persulphate oxidation. Water Research 13(9): 911-912.

Reddy, K.R., Hettiarachchi, H., Parakalla, N.S., Gangathulasi, J. and Bogner, J.E. 2009. Geotechnical properties of fresh municipal solid waste at Orchard Hills Landfill, USA. Waste Management 29(2): 952-959.

Schwartz, M.F. and Boyd, C.E. 1994. Channel catfish pond effluents. The Progressive Fish Culturist 56(4): 273-281.

Schwartz, M.F. and Boyd, C.E. 1995. Constructed wetlands for treatment of channel catfish pond effluents. The Progressive Fish Culturist 57(4): 255-266.

Taparhudee, W. 2010. Construction of aquaculture ponds. Department of Aquaculture, Faculty of Fisheries, Kasetsart University, Bangkok. (in Thai)

Teichert-Coddington, D.R. 1995. Estuarine water quality and sustainable shrimp culture in Honduras, Thirteenth Annual Report. Available Source: http://pdacrsp.oregonstate.edu/pubs/Technical/13Techpdf/2.b .1.pdf, May 9, 2020.

Teichert-Coddington, D.R., Martinez, D. and Ramı´rez, E. 1996. Pond Dynamics/Aquaculture, Thirteenth Annual Administrative Report. Available Source: https://aquaculture.oregonstate.edu/sites/aquaculture.oregonstate.edu/files/2022-10/crsp-13thannualadministrativ

ereport.pdf, May 19, 2021.

Teichert-Coddington, D.R., Rouse, D.B., Potts, A. and Boyd, C.E. 1999. Treatment of harvest discharge from intensive shrimp ponds by settling. Aquacultural Engineering 19(3): 147-161.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

โกยดุลย์ ส., อิสเหาะ เ., เทพาหุดี ว. ., & สิทธิกูล ป. (2022). คุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาช่อนในช่วงเก็บเกี่ยวและเทคนิคการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีการถ่ายน้ำและการตกตะกอนในบ่อเลี้ยง. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 14(3), 770–784. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rmutsvrj/article/view/247477