เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • ต้นฉบับต้องเป็นไฟล์ word จัดหน้ากระดาษให้ได้ในกระดาษ A4 คอลัมภ์เดียวทั้งบทความ โดยตั้งหน้ากระดาษ ขอบบน 2.5 cm. ขอบล่าง 2.5 cm. ขอบซ้าย 3 cm. ขอบขวา 2 cm. บทความภาษาไทยใช้ตัวอักษร Angsana UPC/New บทความภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร Time New Roman โดยมีความยาวไม่เกิน 15 หน้า

ดาวน์โหลด

 

รูปแบบการจัดเตรียมต้นฉบับ

              ต้นฉบับต้องจัดหน้ากระดาษให้ได้ในกระดาษ A4 โดยตั้งหน้ากระดาษ ขอบบน 2.5 cm. ขอบล่าง 2.5 cm. ขอบซ้าย 3 cm. ขอบขวา 2 cm. บทความภาษาไทยใช้ตัวอักษร Angsana UPC/New บทความภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร Time New Roman โดยมีความยาวไม่เกิน 15 หน้า 

 

รายละเอียดการจัดเตรียมต้นฉบับ

                ชื่อเรื่อง  ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  จัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ ชื่อภาษาอังกฤษขึ้นต้นคำให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่  บทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 22 ตัวหนา บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวหนา

                ชื่อผู้นิพนธ์  ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  จัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ บทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 15 บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรขนาด 12 ให้กำกับหมายเลขยกกำลังไว้ต่อท้ายด้วย สำหรับชื่อของหน่วยงานให้พิมพ์ไว้ในส่วนเชิงอรรถ โดยพิมพ์ชื่อหน่วยงานต้นสังกัดให้ตรงกับตัวเลขยกกำลังที่กำกับไว้ในหน้าเดียวกัน  พร้อมทั้งระบุผู้นิพนธ์ประสานงาน (corresponding author) โดยทำเครื่องหมาย * ไว้หลังตัวเลข  ระบุ E-mail และเบอร์โทรศัพท์ของผู้นิพนธ์ประสานงาน โดยบทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 12 บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรขนาด 10

                บทคัดย่อและ Abstract  เนื้อหาต้องครอบคลุมถึงบทนำ วิธีดำเนินการวิจัย สรุปและวิจารณ์ผลตาม ลำดับ ความยาวไม่เกิน 300 คำ พิมพ์หัวข้อเป็นตัวหนาขนาด 18 สำหรับบทความภาษาไทย และ 14 สำหรับบทความภาษาอังกฤษ  สำหรับเนื้อความใช้ตัวอักษรขนาด ขนาด 15 สำหรับบทความภาษาไทย และ 12 สำหรับบทความภาษาอังกฤษ

                คำสำคัญ (Keywords)  ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ควรเลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความ  ประมาณ 3-5 คำ  โดยพิมพ์ต่อจากส่วนเนื้อหาของบทคัดย่อและ Abstract บทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 15 บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรขนาด 12

                เนื้อหา ประกอบด้วย  บทนำ  วิธีดำเนินการวิจัย  ผลการวิจัยและวิจารณ์ผล  สรุป  กิตติกรรมประกาศ และ เอกสารอ้างอิง บทความภาษาอังกฤษประกอบด้วย เนื้อความบทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 15 บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรขนาด 12 การพิมพ์หัวข้อใหญ่ บทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวหนา ส่วนหัวข้อย่อย  บทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษรขนาด 15 บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรขนาด 12 ตัวหนา

                ภาพและตาราง  การนำเสนอรูปภาพและตาราง ให้พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตารางที่ 1 หรือ Table 1 และ ภาพที่ 1 หรือ Figure 1 โดยมีคำอธิบาย บทความภาษาไทยขนาดตัวอักษร 15 บทความภาษาอังกฤษขนาดตัวอักษร 12 ขนาดของรูปและตารางตามความเหมาะสมของแต่ละบทความ จัดคำอธิบายใต้ภาพให้อยู่กึ่งกลาง โดยให้อยู่ในรูปแบบบทความพร้อมตีพิมพ์ และส่งไฟล์รูปเฉพาะด้วย

                การอ้างอิง  เอกสารที่นำมาอ้างอิงในเนื้อความจะต้องตรงกับเอกสารที่ปรากฏในส่วนรายการเอกสารและสิ่งอ้างอิง  ระบบการอ้างอิงให้ใช้ระบบนาม-ปี  ให้เขียนเอกสารอ้างอิงทั้งในส่วนของเนื้อหาบทความ และส่วนท้ายบทความ เป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้ชื่อสกุล กรณีเอกสารอ้างอิงที่มีการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ให้เขียนวงเล็บไว้ด้านหลังเอกสารอ้างอิงรายการนั้นเป็น ( in Thai)  ตัวอย่าง

 

สุวัจน์  ธัญรส.  2550.  วิทยาศาสตร์ทางทะเลเบื้องต้น.  โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.

Tanyaros, S.  2007.  Introduction to marine science. Odeon Store, Bangkok. (in Thai)

 

                                                                                             ตัวอย่างการอ้างอิง

 

1.1 การอ้างอิงในเนื้อหา

    1.1.1 Single author (Sano, 1987)

    1.1.2 Two authors (Smith and Hardy, 1953)

    1.1.3 More than two authors (Ikejima et al., 1959)

             กรณี เอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการ ให้เรียงลำดับปีที่พิมพ์จากน้อยไปหามากและคั่นแต่ละชุดด้วยเครื่องหมาย (;)

    1.1.4 Multiple references (Sano, 1987; Kon and Kurokura, 1990; Rooster, 2000)

 

1.2 การอ้างอิงเอกสารท้ายบทความ

วารสาร

ชื่อผู้เขียน (ให้นามสกุลขึ้นก่อน  ตามด้วยอักษรย่อตัวแรกของชื่อตัว ชื่อกลาง ตามลำดับ).  ปีที่พิมพ์.  ชื่อบทความ.  ชื่อวารสาร (ใช้ชื่อเต็ม) ปีที่(ฉบับที่): หน้าที่ปรากฏบทความ.

Gensemer, R.W.  1991.  The effects of pH and aluminum on the growth of the acidoplilic diatom Asterionella ralfsii var. americanaLimnology and Oceanography 36(1): 123–131.

Prapainop, R. and Maneeratana, K.  2004.  Simulation of ice formation by the finite volume method. Songklanakarin Journal of Science and Technology 26(1): 55–70.

Sultana, N., Kasem, M.A., Hossain, M.D. and Alam, M.S.  1998.  Biochemical changes of some promising lines of Yard Long Bean due to the infection of Yellow Mosaic virus.  Thai Journal of Agricultural Science 31(3): 322–327.

Katayama, S.  2002.  Coexistence of resident and anadromous pond smelt, Hypomesus nipponensis, in Lake Ogawa.  Fisheries Science 68(Suppl. I): 33–44.

 

หนังสือ

ผู้แต่งคนเดียวหรือหลายคน

ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์.  ชื่อหนังสือ.  ครั้งที่พิมพ์.  ผู้จัดพิมพ์, สถานที่พิมพ์.

Underwood, A.J.  1997.  Experiments in Ecology: Their Logical Design and Interpretation Using Analysis of Variance.  Cambridge University Press, Cambridge.

Hutcheson, G.D. and Sofroniou, N.  1999.  The Multivariate Social Scientist: Introductory Statistics Using Generalized Linear Models.  SAGE Publications, London.

Brower, J.E., Zar, J.H. and von Ende, C.N.  1990.  Field and Laboratory Methods for General Ecology (3rded).  Wm. C. Brown Publishers, Dubuque.

 

อ้างอิงบทหนึ่งในหนังสือ

ชื่อผู้เขียนบทที่อ้าง.  ปีที่พิมพ์.  ชื่อบทที่อ้าง, หน้าที่บทนั้นตีพิมพ์. ใน ชื่อบรรณาธิการ หรือผู้รวบรวม, บรรณาธิการ หรือผู้รวบรวม.  ชื่อหนังสือ.  สำนักพิมพ์, สถานที่พิมพ์.

Jacobeer, L.F. and Rand, A.G.  1982.  Biochemical of seafood, pp. 347-365.  In Martin, R.E., Flick, G.J., Hebard, C.E. and Ward, D.R., eds.  Chemistry and Biochemistry of Marine Food Products.  AVI Inc, Westport. 

 

รายงานการประชุม/สัมมนา

ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์.  ชื่อเรื่อง, หน้าที่ตีพิมพ์. ใน ชื่อบรรณาธิการ, บรรณาธิการ (ถ้ามี).  ชื่อการประชุม  ครั้งที่.  สำนักพิมพ์ (หรือหน่วยงานที่จัดการประชุม), สถานที่พิมพ์.

Henderson, S.  1978.  An evaluation of the filter feeding fishes, Silver and bighead Carp, for Water quality improvement, pp. 121-136.  In Smitherman, R.O., Shelton, W.L. and  Grover, J.H. eds.  Symposium on The Culture of Exotic Fishes.  American Fisheries Society, Auburn University, Alabana.

 

วิทยานิพนธ์

ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์.  ชื่อวิทยานิพนธ์.  ระดับวิทยานิพนธ์, ชื่อสถาบันการศึกษา.

Tongnunui, P.  2000.  Identification and distribution of fish larvae in mangrove forest at Sikao district, Trang province. Master of Science (Marine Science), Chulalongkorn University.

 

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

ซีดีรอม (CD-ROM)

ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์.  ชื่อบทความ (ซีดี-รอม).  ชื่อวารสาร ปีที่ (ลำดับที่): เลขหน้าที่ปรากฏบทความในวารสาร, สาระสังเขป  จาก: ชื่อฐานข้อมูลและหมายเลขเอกสารเพื่อการค้น

Preston, W.  1982.  Poetry ideas in teaching literature and writing to foreign student (CD-ROM).  TESOL Quart.  16: 489-502 Abstract from: Dialog File: ERIT Item: EJ274529  

 

ข้อมูลสารสนเทศ (World Wide Web)

ชื่อผู้เขียน.  ปีที่พิมพ์.  ชื่อเรื่อง.  ชื่อหัวของเว็ปไซด์.  แหล่งที่มา: วัน เดือน ปี  ที่สืบค้นข้อมูล.

Sillery, B.  1998.  Urban rainforest: An African jungle come to life on New York’s west side.  Popular Science.  Available Source: http://WWW.epnet.com/hostrial/hostrial/login.htm, March 27, 1998.

 

เอกสารที่เป็นกฎหมาย

                ชื่อหน่วยงานเจ้าของกฎหมาย.  ปีที่พิมพ์.  ชื่อกฎหมาย และปี.  หนังสือที่เผยแพร่ เล่มที่, ตอนที่ (ลงวันที่).

Ministry of Public Health.  2013.  Notification of Ministry of Public Health (No. 355) 2013 Title: Food in a Hermetically Sealed Container.  Government Gazette vol.130, Special Part 87. (dated July 24, 2013). (in Thai)

 

การส่งต้นฉบับ

                ผู้สนใจตีพิมพ์จะต้องส่งไฟล์ต้นฉบับในรูปแบบ Microsoft Office Word รูปแบบ PDF และไฟล์รูปภาพจริง พร้อมแบบฟอร์มส่งบทความเพื่อพิจารณามายัง กองบรรณาธิการวารสารวิจัย มทร.ศรีวิชัย ผ่านระบบ Online submission ของวารสาร ทาง https://www.tci-thaijo.org/index.php/rmutsvrj/index

 

หลักเกณฑ์การประเมินบทความเพื่อตอบรับการตีพิมพ์

                กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น  เกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป  ถ้าไม่ผ่านการพิจารณา  จะส่งกลับไปแก้ไขหรือปฏิเสธการรับเข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์  ถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ประเมินจากภายนอก  เมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านหรือมีการแก้ไขจะแจ้งผลให้ผู้นิพนธ์ทราบ  และเมื่อบทความได้รับการเผยแพร่  ผู้นิพนธ์จะได้รับการแจ้งเตือนจากวารสาร