การผลิตสารลีแวนด้วยเอนไซม์ลีแวนซูเครสเพื่อการเพิ่มมูลค่ากากของเสียอุตสาหกรรม

Main Article Content

ธนวัฒน์ ราชภิรมย์
ณัฏฐิณี ธีรกุลกิตติพงศ์
วิทวัส แจ้งเอี่ยม

บทคัดย่อ

               Bacillus siamensis เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตเอนไซม์ลีแวนซูเครส (Levansucrase) ซึ่งมีความสามารถในการย่อยสลายซูโครสผ่านกระบวนการไฮโดรไลซิส (Hydrolysis) และทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อโมเลกุลผ่านกระบวนการทรานส์ฟรุกโตซิลเลชันเกิดเป็นสารลีแวนซึ่งเป็นสารประเภทพอลิแซ็กคาไรด์ โดยจะมีโครงสร้างเป็นน้ำตาลฟรุกโทสเชื่อมต่อกันด้วยพันธะ β(2→6) linkages กับ β(2→1) linkages ในสายหลักและโซ่กิ่งตามลำดับ งานวิจัยนี้จึงศึกษาการทำบริสุทธิ์เอนไซม์จากจุลินทรีย์ Bacillus siamensis และศึกษาสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตสารลีแวนด้วยเอนไซม์ลีแวนซูเครส ที่ความเข้มข้นของซูโครส ความเป็นกรด-ด่าง (pH) และอุณหภูมิต่างๆ พบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตลีแวนเท่ากับ ความเข้มข้นของซูโครส 20%(w/v) pH 6 อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 48 ชั่วโมง ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตสารลีแวน โดยมีกิจกรรมเอนไซม์สูงสุด 0.68 ยูนิตต่อมิลลิลิตร จากนั้นทำการศึกษาการบำบัดของเสียอุตสาหกรรมอาหารที่มีซูโครสความเข้มข้น 20% (w/v) ด้วยเอนไซม์ลีแวนซูเครส
บริสุทธิ์ ที่ pH 6 และอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นาน 48 ชั่วโมง พบว่ากิจกรรมเอนไซม์มีค่าสูงสุด 0.57 ยูนิตต่อมิลลิลิตร จากการศึกษาสรุปได้ว่าเอนไซม์ลีแวนซูเครสบริสุทธิ์สามารถเปลี่ยนรูปของเสียให้เป็นสารลีแวน ซึ่งเป็นสารที่มีมูลค่า เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ

Article Details

How to Cite
ราชภิรมย์ ธ., ธีรกุลกิตติพงศ์ ณ., & แจ้งเอี่ยม ว. (2019). การผลิตสารลีแวนด้วยเอนไซม์ลีแวนซูเครสเพื่อการเพิ่มมูลค่ากากของเสียอุตสาหกรรม. วารสารวิจัยรามคำแหง ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(2), 35–42. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rusci/article/view/232475
บท
Articles
Author Biographies

ธนวัฒน์ ราชภิรมย์, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ณัฏฐิณี ธีรกุลกิตติพงศ์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

หลักสูตรสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

วิทวัส แจ้งเอี่ยม, หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

ณัฐิวุฒิ ไตรโอสถ และ ฐลัชนันท์ สายเครือคำ. 2561. การคัดเลือกและศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของจุลินทรีย์ที่ผลิตสารพรีไบโอติกในรูปของลีแวนจากถั่วเหลืองหมัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Alam A.S. and Hossain K.M. 2007. A study on industrial waste effluents and their management at selected food and beverage industries of Bangladesh. J. Appl. Sci. Environ. Manage. 11: 5-9.
Dominguez A.L., and Rodridues L.R. 2014. An overview of the recent developments on fructooligosaccharides production and applications. Food Bioprocess Technol. 7: 324-337.
Ebskamp, M. J. M., Smeekens, J. C. M. and Weisbeek, P. J.. 1999. Method for obtaining transgenic plants showing a modified fructan pattern. Google Patents.
Küçükaşik F., H. Kazak, D. Güney. 2011. Molasses as fermentation substrate for Levan production by Halomonas sp. Applied Microbiology and Biotechnology. 89(6): 1729-1740.
Hendry G.A., and Wallace R.K. 1993. The origin, distribution, and evolutionary significance of fructans. Science and Technology of Fructans. Florida, USA : 119-139
Dahech I., and Belghith. K.S. 2011. Administration of Levan polysaccharide reduces the alloxan-induced oxidative stress in rats. International Journal of Biological Macromolecules. 49 (5): 942-947.
Cerning J. 1990. Exocellular polysaccharides produced by lactic acid bacteria. FEMS Microbiology Letters. 87(1–2): 113-130
Yang S.T. 2007. Bioprocessing for Value-added Products from Renewable Resources, (first ed.), Elsevier, Ohio, USA.