ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักเขากวางอ่อนและน้ำหนักตัว ของกวางที่เลี้ยงในฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

มณี อัชวรานนท์
พรชัย วงศ์วาสนา
จิตรภานุ อินทวงศ์
ธงชัย ช่วยสถิตย์
จิระวุฒ นาเค
แพรพิไล เจริญสิทธิ์กองคำ
วีระศักดิ์ มะประสิทธิ์
ธวัชชัย ทวีตา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจฟาร์มกวาง ส่วนใหญ่เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตหลัก คือ เขากวางอ่อน ซึ่งงอกใหม่   ทุกปี เขากวางอ่อนที่งอกใหม่มีลักษณะนุ่ม หุ้มด้วยหนังคล้ายกำมะหยี่ เขากวางอ่อนที่มีขนาดใหญ่ ยาว อ้วน น้ำหนักเขากวางมาก เป็นเขากวางที่ขายได้ราคาดีในตลาดที่มีการซื้อขายเขากวางอ่อน งานวิจัยในครั้งนี้ต้องการนำเสนอเพื่อตอบคำถามว่า กวางที่เลี้ยงในฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง น้ำหนักเขากวางอ่อนมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของกวางหรือไม่ โดยการศึกษาเขากวางอ่อนของกวางรูซ่าและกวางซิก้าที่มีอายุตัวกวางระหว่าง 3 ปี – มากกว่า 8 ปี จากการศึกษา พบว่า ในกวางซิก้าน้ำหนักเขากวางอ่อนไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับน้ำหนักตัวของกวาง ไม่ว่าตัวกวางอายุเท่าไรก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากในกวางรูซ่า ไม่ว่าอายุของตัวกวางเท่าไร น้ำหนักเขากวางอ่อนมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของกวางอย่างมีนัยสำคัญ น้ำหนักตัวของกวางน้อย น้ำหนักเขากวางอ่อนน้อย น้ำหนักตัวของกวางมาก น้ำหนักเขากวางอ่อนมาก โดยไม่ขึ้นกับอายุ งานวิจัยของฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยมีรายงานว่า คุณภาพของเขากวางอ่อนขึ้นกับอาหารที่ใช้เลี้ยงกวาง โดยเฉพาะอาหารผสมที่มีความหลากชนิดของอาหารที่เป็นส่วนผสม จึงอาจเป็นเหตุผลที่ใช้อธิบายได้ว่า กวางรูซ่าซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นมีกลไกของสรีรวิทยาของร่างกายในการตอบสนองต่ออาหารที่ใช้เลี้ยงกวางได้ดีกว่ากวางซิก้าซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่น

Article Details

How to Cite
อัชวรานนท์ ม., วงศ์วาสนา พ. ., อินทวงศ์ จ. ., ช่วยสถิตย์ ธ. ., นาเค จ. ., เจริญสิทธิ์กองคำ แ. ., มะประสิทธิ์ ว., & ทวีตา ธ. . (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักเขากวางอ่อนและน้ำหนักตัว ของกวางที่เลี้ยงในฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(1), 1–16. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/rusci/article/view/244899
บท
Articles

References

พรชัย วงศ์วาสนา. 2547. โครงการจัดทำฟาร์มกวาง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์รามคำแหง. 28 หน้า.
พรชัย วงศ์วาสนา. 2548. ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง. มหาวิทยาลัยรามคำแหง 34 ปี. หน้า 56-60.
พรชัย วงศ์วาสนา. 2552. ผลของภูมิอากาศที่มีต่อการเลี้ยงกวางในประเทศไทย. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 12(1): 67-75.
มณี อัชวรานนท์. 2551. งานวิจัยจากฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง. จดหมายข่าวสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2(6): 1- 6. มิถุนายน 2551.
มณี อัชวรานนท์. 2554ก. สัณฐานวิทยาของเขากวางอ่อนของกวางที่เลี้ยงในฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 14(1): 40-70.
มณี อัชวรานนท์. 2554ข. ความสัมพันธ์ระหว่างวงรอบการเจริญของเขากวางกับการสืบพันธุ์. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 14(2): 1-16.
มณี อัชวรานนท์. 2555. การสืบพันธุ์ของกวางที่เลี้ยงในฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 15(1): 1-17.
มณี อัชวรานนท์ พรชัย วงศ์วาสนา ธิดารัตน์
เอกสิทธิกุล และสัญญา กุดั่น. 2555ก. ประสิทธิภาพของเขากวางอ่อนต่อสรีรวิทยาการสืบพันธุ์ของหนูหนุ่มและหนูพ่อพันธุ์
ที่ปลดระวาง.วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี).15(2): 81-119.
มณี อัชวรานนท์ พรชัย วงศ์วาสนา ธิดารัตน์
เอกสิทธิกุล และสัญญา กุดั่น. 2555ข.
ผลเฉียบพลันและเรื้อรังของการกิน
เขากวางอ่อนในปริมาณสูงและในระยะยาวในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม.วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 15 (ฉบับพิเศษ): 1- 36.
มณี อัชวรานนท์ พรชัย วงศ์วาสนา และจิตรภาณุ
อินทวงศ์. 2556ก. ความน่ากินของอาหารผสมสำเร็จของฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 16(1): 1-12.
มณี อัชวรานนท์ พรชัย วงศ์วาสนา และวิสาล
อธิพรธรรม. 2556ข. ผลของการบริหารจัดการน้ำต่อผลผลิตหญ้าอาหารสัตว์ที่ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 16(1): 48-58.
มณี อัชวรานนท์ พรชัย วงศ์วาสนา วิสาล อธิพรธรรม และจิตรภาณุ อินทวงศ์. 2557ก. การวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 17(1): 38-49.
มณี อัชวรานนท์ พรชัย วงศ์วาสนา วิสาล อธิพรธรรม และจิตรภาณุ อินทวงศ์. 2557ข. ประสิทธิภาพของมูลกวางต่อการปลูกหญ้าที่ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง.วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 17(2): 1-13.
มณี อัชวรานนท์ พรชัย วงศ์วาสนา ยิ่งยง เมฆลอย จิตรภาณุ อินทวงศ์ ธงชัย ช่วยสถิตย์
และจิระวุฒ นาเค. 2561ก. การผันแปรของวงรอบการเจริญของเขากวางและพฤติกรรมการสืบพันธุ์ของกวางที่เลี้ยงที่ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 21(1): 1-12.
มณี อัชวรานนท์ พรชัย วงศ์วาสนา จิตรภาณุ
อินทวงศ์ ธงชัย ช่วยสถิตย์ และจิระวุฒ นาเค. 2561ข. การบริหารจัดการฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหงและการรอดชีวิตของลูกกวาง. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 21(2): 1-19.
มณี อัชวรานนท์ พรชัย วงศ์วาสนา จิตรภาณุ
อินทวงศ์ ธงชัย ช่วยสถิตย์ จิระวุฒ นาเค แพรพิไล เจริญสิทธิ์กองคำ และวีระศักดิ์
มะประสิทธิ์. 2562. ความหลากหลายของอาหารผสมที่มีต่อผลผลิตเขากวางอ่อน. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 22(2): 1-12.
รังสรรค์ แสงสุข มณี อัชวรานนท์ ธิดารัตน์
เอกสิทธิกุล พรชัย วงศ์วาสนา และสัญญา กุดั่น. 2555. คุณค่าทางโภชนาการของเขากวางอ่อน. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 15(1): 96-108.
Asher, G. W. and Fisher, M. W. 2014. Reproductive physiology of farmed red deer (Cervus elaphus) and fallow deer (Dama dama). In: Miller, R.E. and Fowler, M.E. (Eds). Fowler’s Zoo and Wild Animal Medicine. Volume 8. St. Louis, Saunders.
Bubenik, G. A. 2006. Seasonal regulation of deer reproduction as related to the antler cycle - a review. Vet Archiv. 76: 275-289.
Feldhamer, G. A. and McShea, W. J. 2012. Deer: the animal answer guide. Johns Hopkins Univ. Press.
Foley, A. M., DeYoung, R. W., Hewitt, D. G., Hellickson, M. W., Gee, K. L., Wester, D. B., Lockwood, M. A., and Miller, K.V. 2015. Purposeful wanderings: mate search strategies of male white-tailed deer. J. Mammal. 96: 279-286.
Fraser-Stewart, J. W. 1985. Deer and development in south-west Papua-New Guinea. R. Sot. 22: 381-385.
Kierdorf, U. and Kierdorf, H. 2011. Deer antlers- a model of mammalian appendage regeneration: an extensive review. Gerontology. 57: 53-65.
Price, J. and Allen, S. 2004. Exploring the mechanisms regulating regeneration of deer antlers. Phil. Trans. R. Soc. B359: 809-822.
Price, J., Allen, S., Faucheux, C., Althnaian, T. and Mount, J.G. 2005. Deer antlers: a zoological curiosity or the key to understanding organ regeneration in mammals? J. Anat. 207: 603-618.
Spellman, F. R. 2015. Environmental Impacts of Renewable Energy. In: Ghassemi, A. (Ed). Energy and the Environment. Boca Raton, CRC Press. Taylor and Francis Group.