การสังเคราะห์ไฮโดรเจลของเพคตินจากผลข้าวปั้นพระฤๅษีสำหรับการปลดปล่อยปุ๋ยไนโตรเจน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการสังเคราะห์ไฮโดรเจลของเพคติน (Pc) ที่สกัดได้จากผลข้าวปั้นพระฤาษีและพอลิไวนิล
ไพโรลิโดน (PVP) ในอัตราส่วนโดยน้ำหนัก 1:0.2 1:0.4 1:0.6 1:0.8 กับ 1:1 ซึ่งมีกลูตารัลดีไฮด์ (GA) เป็นสารเชื่อมขวาง ในการทดสอบความสามารถในการดูดซับของเหลวของไฮโดรเจล พบว่าไฮโดรเจลมีการดูดซับน้ำได้มากขึ้นเมื่อเพิ่มระยะเวลาในการดูดซับจนถึงชั่วโมงที่ 8 จากการศึกษาการดูดซับปริมาณไนโตรเจนโดยเทคนิคคเจลดาห์ลของ
ไฮโดรเจลที่เตรียมจากอัตราส่วน PC : PVP ในอัตราส่วนโดยมวล 1:0.8 และ 1:1 มีค่า ปริมาณไนโตรเจนเท่ากับ 61.59 และ 53.35 เปอร์เซ็นต์ เมื่อทำการทดสอบผสมไฮโดรเจลลงในดินเป็นเวลา 14 วัน พบว่ามีค่า ปริมาณไนโตรเจนเท่ากับ 22.57 และ 4.11 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อบรรจุไฮโดรเจลลงในถุงชาและนำลงดินเป็นเวลา 14 วัน พบว่าปริมาณไนโตรเจนในดินมีค่า 5.13 และ 4.12 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Article Details
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
References
ณิชากรณ์ กิ่งก้าน. 2560. รายงานการวิจัยการสกัดและวิเคราะหาปริมาณเพคติน เพื่อศึกษาความคุ้มทุน และการย่อยสลายของเพคตินที่สกัดได้จากผลข้าวปั้นพระฤๅษี. โปรแกรมวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ปฐมา จาตกานนท์, กุลฤดี แสงสีทองและรุ่งทิวา วันสุขศรี. 2556. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาการผลิตไฮโดรเจลจากแป้งข้าวที่มีปริมาณอะมิโลสต่างๆ. กรุงเทพฯ : สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : ศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
วาทิตย์ สมุดหอม.2548. รายงานการวิจัยการสกัด
เพคตินจากพืชพื้นบ้าน บ้านทุ่งก่อ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Byun, H., and Hong, B. 2008. Swelling Behavior and Drug Release of Poyl(vinyl alcohol) Hydrogel Cross-Linked with Poly(acrylic acid). Macromolecular Research.16(3): 189-193.
Kiatkamjornwong, S., Chomsaksakul, W. and Sonsuk, M. 2000. Radiation modification of water absoption of cassava starch by acrylic acid/ acrylamide. Radiation Phyics and Chemistry. 59: 413-427.
Lawal, O.S., Storz, J., Storz, H., Lohmann, D., Lechner, D. and Kulicke, W.M. 2009. Hydrogels based on caboxymethyl cassava starch cross-linked whith di-or polymerfunctional carboxylic acid: Synthesis, water absorben behavior and rheological characterization. European Polymer Journal. 45: 3399-3408
Rakesh, K. M., Mahesh, D., and Ajit, K. B. 2008. Synthesis and Characterization of Pectin/PVP Hydrogel Membranes for Drug Delivery System. AAPS PharmSciTech, Vol. 9(2), 395-403.
Rakitikul, W., and Palee, J. 2018. Botanical Characteristics and Pectin Properties of Canthium parvifolium Roxb. Current Applied Science and Technology, Volume 18(3), 156-166.
Yoshimura, T., Sengku, K., and Fujioka, R. 2005. Pectin-based superabsorbent hydrogels crosslinked by some chemicals: synthesis and characterization. Polymer Bulletin, Volume 55, 123-129.