การพัฒนาแบบจำลองการตรวจจับพริกชี้ฟ้าสำหรับเครื่องคัดแยก
Main Article Content
บทคัดย่อ
คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมและการเกษตร ต้องการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์นำมาพัฒนา ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงกระบวนการคัดแยกเพื่อคัดแยกพริกชี้ฟ้าตามสีที่เหมาะสม โดยการใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) เช่น YOLO เพื่อพัฒนาโมเดลในการวิเคราะห์สีของพริกชี้ฟ้า สำหรับการคัดแยกสีและการกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน เพื่อนำโมเดลใช้ร่วมกับเครื่องคัดแยกเป็นการปรับปรุงกระบวนการคัดแยกในสายการผลิตและบรรจุภัณฑ์ของพริกชี้ฟ้าในอุตสาหกรรมเกษตร ทางผู้วิจัยจึงได้ประยุกต์ใช้เทคนิค YOLO พัฒนาโมเดลในการคัดแยกพริกชี้ฟ้าที่สามารถคัดแยกพริกชี้ฟ้าตามสีได้อย่างแม่นยำ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลภาพพริกชี้ฟ้าจำนวน 294 ภาพ และใช้สถิติการวัดผล ได้แก่ Precision, Recall และ Mean Average Precision (mAP) เพื่อประเมินผลการทำงานของโมเดล ผลการวิจัยพบว่าโมเดลที่พัฒนามีความแม่นยำสูงโดยมีค่า Precision เฉลี่ย 99.6% การศึกษาความสามารถของแบบจำลองในการนำไปใช้งาน โดยพิจารณาถึงความแม่นยำ ความรวดเร็ว และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาใช้กับเครื่องคัดแยกพริกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การคัดแยกสีของพริกเป็นไปตามความต้องการ นอกจากนี้ผลการวิจัยครั้งนี้ยังสามารถเสนอแนวทางในการพัฒนาต่อยอดและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการตรวจจับด้วยภาพสำหรับการคัดแยกผลิตภัณฑ์เกษตรชนิดอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเสียในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เจ้าของลิขสิทธิ์ (สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์) ผู้เขียน ตกลงว่าการทำสำเนาบทความหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความดังกล่าวในรูปแบบสิ่งพิมพ์หรืออิเล็กทรอนิกส์ตามที่ได้รับอนุญาต จะต้องระบุประกาศลิขสิทธิ์ตามที่กำหนดไว้ในวารสาร พร้อมทั้งอ้างอิงข้อมูลฉบับสมบูรณ์ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารที่จัดทำโดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อย่างครบถ้วนทุกครั้ง
References
ภูมินทร์ ต้นอุตม์ และณัฐกร ขำสุวรรณ. “การพัฒนาเครื่องต้นแบบคัดแยกดอกดาวเรืองโดยใช้วิธีการประมวล”. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 13 มกราคม –มิถุนายน 2562,หน้า 79-92.
สิริทัศน์ เลิศตระกูลถาวร “การพัฒนาระบบนับจำนวนนกแอ่นกินรังด้วย YOLO Object Detection ผ่านกล้องถ่ายภาพความร้อน” วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2563 หน้า 13 และ 23
THAI-THAIFOOD.COM [ออนไลน์] พริกชี้ฟ้า. 2559. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566, จาก https://shorturl.asia/Qijrb
รักชัย คุรุบรรเจิดจิต และคณะ. “การทดสอบพันธุ์พริก ชี้ฟ้าต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนส”. แบบรายงานวิจัยกรมวิชาการเกษตร 9 หน้า.
Vithan Minaphinant [ออนไลน์] deep learningคืออะไร. 2561. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566, จากhttps://shorturl.asia/zx0Q3
การเรียนรู้เชิงลึกคืออะไร สำคัญอย่างไร [ออนไลน์] การเรียนรู้เชิงลึกคืออะไร. 2561. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566, จากhttps://shorturl.asia/dxh2p
Iqbal H. Sarker (2021). Deep Learning: A Comprehensive Overview on Techniques, Taxonomy, Applications and Research Directions. SN Computer Science. Volume 2, number 420 (2021). https://doi.org/10.1007/s42979-021-00815-1, https://shorturl.asia/yh8Td, pp 1-20
Jirat Boonphun [ออนไลน์] Object Detection คืออะไร. 2564. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2566, จากhttps://shorturl.asia/sNS1B
Surapong Kanoktipsatharpong [ออนไลน์] Object Detection คืออะไร. 2563. สืบค้นเมื่อ16 กันยายน 2566, จากhttps://shorturl.asia/twFLQ
TIPA [ออนไลน์] yolo v5 คืออะไร. 2565. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2566, จาก https://shorturl.asia/FQeMi
ชวิศ ภูริพัฒน์ “ประสิทธิภาพของระบบตรวจจับวัตถุเคลื่อนที่ กรณีศึกษา ฟาร์มนกแอ่นกินรัง” วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2563. หน้า 20-21
T. Fredriksson,D. I. Mattos,J. Bosch, H. H. Olsson (2020), Data Labeling: An Empirical Investigation into Industrial Challenges and Mitigation Strategies, In book: Product-Focused Software Process Improvement ,November 2020, DOI: 10.1007/978-3-030-64148-1_13,16 pages.
Shapiee, M.N.A., Abdul Manan, A.A., Mohd Razman, M.A., Mohd Khairuddin, I., P. P. Abdul Majeed, A. (2022). Chili Plant Classification Using Transfer Learning Models Through Object Detection. In: Khairuddin, I.M., et al. Enabling Industry 4.0 through Advances in Mechatronics. Lecture Notes in Electrical Engineering, vol 900. Springer, Singapore. https://doi.org/10.1007/978-981-19-2095-0_46 First Online: 15 May 2022, pp. 541–551
I. Agustian , R. Faurina , S. I. Ishak , F.P. Utama ,K. Dinata , N. Daratha (2023), Deep learning pest detection on Indonesian red chili pepper plant based on fine-tuned YOLOv5, International Journal of Advances in Intelligent Informatics ,Vol. 9, No. 3, November 2023, pp. 383-401, ISSN 2442-6571, DOI: 10.26555/ijain.v9i3.864