การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • ต้องไม่เคยได้รับตีพิมพ์มาก่อน (ต้นฉบับหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของต้นฉบับ) และต้นฉบับต้องไม่ได้อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines) ซึ่งอยู่ในหัวข้อ "เกี่ยวกับวารสาร" (About the Journal)
  • ผู้เขียนส่งต้นฉบับบทความในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิค แบบ OpenOffice, Microsoft Word or PDF
  • บรรณานุกรมและการอ้างอิงแบบออนไลน์ในบรรณานุกรม ต้องสามารถเข้าถึง url ที่อ้างถึงได้
  • ข้อความใช้ระยะห่างระหว่างบรรทัดเดี่ยว ใช้แบบอักษรไทยขนาด 16 พอยต์ (บทความภาษาอังกฤษใช้ขนาด 12 พอยต์) ใช้ตัวเอียงแทนการขีดเส้นใต้ (ยกเว้นที่อยู่ URL) และภาพประกอบ ภาพและตารางทั้งหมดจะอยู่ภายในเนื้อหาตามจุดที่เหมาะสม แทนการวางไว้ที่ส่วนท้าย
  • หากบทความได้รับการพิจารณาส่งต่อไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิของวารสารพิจารณา จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำใน Ensuring a Blind Review

คำแนะนำผู้แต่ง

วารสารวิชาการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อพิมพ์เผยแพร่ความรู้และผลงานวิจัยนวัตกรรมการเกษตรด้านพืช และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการทุกท่านสามารถที่จะส่งเรื่อง เพื่อลงพิมพ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกหรือสังกัดกรมวิชาการเกษตร และไม่ต้องเสียค่าตีพิมพ์ เรื่องที่พิมพ์ต้องเป็นเรื่องน่าสนใจ มีสาระอันเป็นประโยชน์แก่งานวิชาการเกษตร และจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือรอการตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น

เรื่องที่จะลงพิมพ์
1. บทความวิจัย (research article) เป็นเอกสารวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร
2. บทความทางวิชาการ (academic article) เป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากการรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น และประสบการณ์ของงานวิทยาศาสตร์เกษตร

การส่งต้นฉบับ: 
ผู้เขียนต้องส่งต้นฉบับผ่านทาง Online  submission เท่านั้น:   tci-thaijo.org/index.php/thaiagriculturalresearch

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนนี้ใช้กับบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเกษตรตั้งแต่ปีที่ 42 เป็นต้นไป


ต้นฉบับ: พิมพ์ด้วยโปรแกรมพิมพ์เอกสาร ms-word ขนาด 16 pts พิมพ์บรรทัดห่าง 1 บรรทัด พิมพ์หน้าเดียวมีความยาว 5-15 หน้า กระดาษขนาด A4 มีรูปแบบการเขียนและการวางหัวข้อ
ตามรายละเอียดดังนี้

 

ชื่อเรื่อง (ภาษาไทย)
ชื่อเรื่อง(ภาษาอังกฤษ)

(ภาษาไทย) ชื่อ สกุล1 (ผู้แต่งคนที่ 1) ชื่อ สกุล2 (ผู้แต่งคนที่ 2)
(ภาษาอังกฤษ) ชื่อ สกุล1 (ผู้แต่งคนที่ 1) ชื่อ สกุล2 (ผู้แต่งคนที่ 2)

ABSTRACT

        สรุปความสำคัญของเรื่องที่ทดลอง วัตถุประสงค์ วิธีการทดลอง สถานที่ เวลาทำการทดลอง ผลการทดลอง และสรุปสาระสำคัญที่ได้จากการทดลอง เป็นภาษาอังกฤษใช้สำนวนรัดกุมและให้รายละเอียดที่ชัดเจน มีความยาวไม่เกิน 300 คำ

Keywords: ไม่เกิน 5 คำ

บทคัดย่อ

          มีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกันกับบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (ABSTRACT) ควรจะอยู่ในหน้าเดียวกันกับบทคัดย่อภาษาอังกฤษ (ถ้าเป็นไปได้)

คำสำคัญ: ไม่เกิน 5 คำ

บทนำ

          อธิบายถึงเหตุผล ความสำคัญ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของงานวิจัยพร้อมทั้งเสนอข้อมูลสนับสนุนหรือโต้แย้งจากการตรวจเอกสาร


     1 ที่อยู่ของหน่วยงานของผู้แต่งคนที่ 1 (ภาษาไทย)
     1 ที่อยู่ของหน่วยงานของผู้แต่งคนที่ 1 (ภาษาอังกฤษ)
     2 ที่อยู่ของหน่วยงานของผู้แต่งคนที่ 2 (ภาษาไทย)
     2 ที่อยู่ของหน่วยงานของผู้แต่งคนที่ 2 (ภาษาอังกฤษ)

* corresponding author :

 

อุปกรณ์และวิธีการ

          อธิบายการวางแผนการทดลอง ขนาดแปลงทดลอง และรายละเอียดของวิธีการดำเนินการทดลอง วัน เวลา และสถานที่ทดลอง วิธีการบันทึกข้อมูล  ใช้สำนวนที่ไม่เยิ่นเย้อ  และให้รายละเอียดเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน

ผลการทดลองและวิจารณ์

          อธิบายผลการทดลองที่สำคัญ  อ้างอิงถึงตาราง กราฟ  หรือรูปประกอบพร้อมเหตุผลสนับสนุนผลการทดลอง  และวิจารณ์เหตุผลที่ทำให้ผลการทดลองเป็นเช่นนั้น    รวมทั้งอ้างถึงผลการทดลองของผู้อื่น(จากเอกสารอ้างอิงในบทนำ  หรืออุปกรณ์และวิธีการ)  เพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านผลการทดลองนั้นๆ

สรุปผลการทดลอง

                             สรุปสาระที่สำคัญของผลการทดลอง คำแนะนำในการนำไปใช้ประโยชน์ และข้อเสนอแนะในงานวิจัยเรื่องนั้นๆในอนาคต (ถ้ามี)

คำขอบคุณ

                                                                         กล่าวถึงบุคคลและหน่วยงานที่ช่วยเหลืองานวิจัยและทดลอง

เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม

                                                                                  ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามตัวอย่าง

ตาราง

                                                        ชื่อตารางและรายละเอียดเป็นภาษาอังกฤษ เรียงตั้งแต่ Table 1 เป็นต้นไป

ภาพประกอบ

                                   ภาพขาวดำ หรือภาพสี หรือภาพลายเส้น (กราฟ)  เป็นต้นฉบับที่ชัดเจน สะอาดและสวยงามพร้อมคำบรรยายเป็นภาษาอังกฤษเรียงตั้งแต่ Figure1 เป็นต้นไป

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

1. การตรวจเอกสาร ในเรื่องของคำนำหรือ อุปกรณ์และวิธีการ หรือ ผลการทดลอง

 ตัวอย่างการเขียน

     - โกศล (2523) หรือ (โกศล,2523)

     - อิ่มจิตและคณะ (2535) หรือ ( อิ่มจิตและคณะ, 2535)

     - Kreb (1978) (หรือ Kreb, 1978)

     - Lekakul et al.  (1977) หรือ (Lekakul et al., 1977)

ถ้าเอกสารไม่ปรากฎชื่อผู้เขียนให้ใช้

      -นิรนาม (2529) หรือ (นิรนาม,2529)

2. เอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม 
      ในบัญชีเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง

2.1  การเรียงลำดับเอกสาร

       -  ให้เอกสารภาษาไทยอยู่ในส่วนแรกและเอกสารภาษาต่างประเทศอยู่ในส่วนที่สอง
       -  ให้เรียงชื่อผู้แต่งตามอักษรแต่ละภาษา
       -  ผู้แต่งชื่อเดียวกัน มีเอกสารมากกว่า 1 ฉบับ
       - ถ้าตีพิมพ์ในปีต่างๆ กัน ให้เรียงปีที่พิมพ์จากน้อยไปหามาก
       - ถ้าตีพิมพ์ในปีเดียว ให้ใส่อักษร ก, ข, ค หรือ a, b, c กำกับในเนื้อเรื่องที่อ้างถึงก่อนและหลังตามลำดับ

2.2 ประเภทของเอกสาร

ก. ตำรา

แบบการเขียน

ชื่อผู้แต่ง. ปี. ชื่อหนังสือ. ชื่อสำนักพิมพ์ จังหวัด. จำนวนหน้า.

ตัวอย่างการเขียน

โกศล เจริญสม. 2523. แตนเบียนคาชิดอยด์. เอกสารพิเศษ ฉบับที่ 3 ศูนย์วิจัยและควบคุมศัตรูพืช โดยชีวินทรีย์แห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กรุงเทพฯ 301 หน้า. 

สะอาด  บุญเกิด จเร สดากร และทิพย์พรรณ สดากร. 2523. ชื่อพรรณไม้ในเมืองไทย.
กองทุนจัดพิมพ์ตำราป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. 657 หน้า. 

Holm, G.L., D.L. Plucknett, J.V. Pancho and J.P. Herberger. 1997. Imperata cylindrical (L.) Beauv. pp. 62-71. In: The World ‘s Worst weeds, Distribution and Biology. Honolulu, University Press of Hawaii.

Krebs, C.J, 1978. Ecology: The Experimental Analysis, Distribution and Abundance.  2nd Ed. H.A. Harper and C.B. Row, (eds.) N.Y. 978 p.

ข. วารสาร Newsletter และ Bulletin 

แบบการเขียน

ชื่อผู้แต่ง. ปี. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสารหรือชื่อ Newsletter หรือชื่อ Bulletin พิมพ์เป็นตัวเอนหรือขีดเส้นใต้  ถ้ามีตัวย่อเป็นสากล ก็ให้ใช้ตัวย่อ. ปีที่ (เล่มที่) : หน้า-หน้า.

ตัวอย่างการเขียน

ไพศาล เหล่าสุวรรณ. 2524. วิธีการเขียนบทความทางวิชาการวิทยาศาสตร์. วารสารสงขลานครินทร์. 3: 27-43.

Sharwa, A.D. and C.I. Jandalk. 1986. Studies on Recycling of Pleurotus Waste. Mushroom Newsletter for the Tropics. 3(1): 13-15.

Yano, K. 1979. Effect of Vegetable Juice and Milk on Alkylating activity of n-methyl-n-nitrou-rea. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 27:2456-2458.

ค. รายงานประจำปี 

แบบการเขียน

ชื่อผู้แต่ง. ปี. ชื่อเรื่อง. หน้า-หน้า. ชื่อรายงานประจำปี พ.ศ. หน่วยงาน. 

ตัวอย่างการเขียน

กรองทอง จันทร  อำนวย ทองดี  และบรรจง สิกขะ มณฑล. 2522. การศึกษาหาวิธีการปลูก
หอมแดงในภาคเหนือ. หน้า 5-20. ใน: รายงานสรุปผลการทดลองพืชสวน 2522.
กองพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.

Lewanich, A. 1974. A Taxonomic Study on the Lipdopterous Pests of Sugar Cane. pp. 511-513. In: Annual Research Report 1974. Div. of Entomol. Snd Zool, Dept. of Agric., Bangkok.
 

ง. รายงานการประชุม

แบบการเขียน

ชื่อผู้แต่ง. ปี. ชื่อเรื่อง. หน้า-หน้า. ชื่อรายงานการประชุม ครั้งที่ (ถ้ามี) วัน เดือน ปีที่มีการประชุม สถานที่ประชุม.

ตัวอย่างการเขียน

พิสิษฐ์ เสพสวัสดิ์  ศรีสมร พิทักษ์  เตือนจิตต์ สัตยาวิรุทธิ์ และสาทร สิริสิงห์. 2523. ประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงบางชนิดกับหนอนเจาะฝักถั่วเหลือง. หน้า 492-523. ใน: รายงานการประชุมวิชาการแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ครั้งที่ 2 กองกีฏและสัตววิทยา. 24-27 มิถุนายน 2532 ณ ศูนย์วิจัยการอารักขาข้าว กรุงเทพฯ.

Bliss, C.I. 1958. The Analysis of Insect Counts as Negative Binomial Distribution. pp. 1015-1030. In: Proc. 10th Intern. Congr. Ent. 2.

Magee, P.N. 1992. The Future of Research on Chemical Carcinogenesis. pp 11. In : 2rd Princess Chulabnorn Science Congress. Nov. 2-6, 1992. Bangkok.

 จ. เอกสารไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน

แบบการเขียน      

ให้ใช้คำว่า นิรนาม หรือ Anonymous แทนชื่อตามด้วยปี พ.ศ.หรือ ค.ศ.ที่ตี่พิมพ์  และใช้วิธีการเขียนตามประเภทของเอกสารนั้น ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น    

ตัวอย่างการเขียน

นิรนาม. 2520. สัตว์ศัตรูอ้อย. วารสารกสิกรรมไร่อ้อย. 1:445-449.

Anonymous. 1989. Krung Thai Bank Annual Report 1989. Bangkok. 80 p.

ฉ. สื่อวิชาการทาง Website 

แบบการเขียน

ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์. (กรณีไม่ปรากฎให้ใช้ n.d.  หรือ ม.ป.ป.) ชื่อเรื่องของเอกสาร. แหล่งข้อมูล: (ระบุ URL). สืบค้น: (วัน เดือน ปี).

ตัวอย่างการเขียน

นิรนาม. 2556. ชาน้ำมัน (Camellia oleifera Abel). ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน มูลนิธิชัยพัฒนา. แหล่งข้อมูล: http://www.teaoilcenter.org/index.php/2013-12-01-03-05-52/2013-12-01-03-12-54/entry/camellia-oleifera-abel.  สืบค้น: 20 พฤษภาคม 2559.

FSANZ. 2007. Final assessment report. Application A565. Use of nisin in processed meat products .Food Standards Australia New Zealand.       Available at: http//www.foodstandards.gov.au/code/applications/documents/A565-FAR-Nissin- Final.pdf. Accessed:  March 22, 2015.                                                                                                                                                                                                  

งานวิจัย

เป็นเอกสารวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ การเกษตร

บทความทางวิชาการ

เป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากการรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น และประสบการณ์ของงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ การเกษตร

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลล์ที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่นๆ