การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมสำหรับมันสำปะหลังที่ปลูกในกลุ่มดินร่วนปนทราย : ชุดดินห้วยโป่ง
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2017.11คำสำคัญ:
มันสำปะหลัง , การจัดการธาตุอาหาร, ดินทรายปนร่วน , ชุดดินห้วยโป่งบทคัดย่อ
การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังจำเป็นต้องมีการจัดการธาตุอาหารพืชและมีความเฉพาะเจาะจงสำหรับพื้นที่ ได้ศึกษาการตอบสนองของมันสำปะหลังต่อการจัดการธาตุอาหารที่เหมาะสมในพื้นที่ดินร่วน เพื่อใช้เป็นคำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับมันสำปะหลังให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในพื้นที่ดินทรายปนร่วนของภาคตะวันออก ทำการทดลองในชุดดินห้วยโป่ง (Hp) อ.เมือง จ.ระยอง ในฤดูฝนปี พ.ศ.2554/2555 และปี พ.ศ. 2555/2556 วางแผนการทดลองแบบ split plot in RCB จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยหลักประกอบด้วย มันสำปะหลัง 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 9 พันธุ์ระยอง 11 และ
สายพันธุ์ CMR 46-47-137 ปัจจัยรอง คืออัตราปุ๋ย 10 กรรมวิธี ได้แก่ 1) 0-0-0 2) 0-8-16 3) 8-8-16 4) 16-8-16 5) 24-8-16 6) 16-0-16 7) 16-16-16 8) 16-8-0 9) 16-8-8 10) 16-8-24 กก.N-P2O5-K2O ต่อไร่ ผลการทดลอง พบว่า การใช้พันธุ์และปุ๋ยเคมี ไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน โดยมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ให้ผลผลิตหัวสด และผลผลิตแป้งสูงสุด 6,274 และ 1,990 กก./ไร่ รองลงมาคือพันธุ์ CMR46-47-137 ซึ่งให้ผลผลิตหัวสด และผลผลิตแป้ง 5,982 และ 1,791 กก./ไร่ พันธุ์ระยอง 11 ให้ผลผลิตหัวสด และผลผลิตแป้งต่ำสุด 5,941 และ 1,777 กก./ไร่ ตามลำดับ การใช้ปยุ๋ เคมมี ผี ลต่อการเพิม่ ผลผลติ หัวสดและผลผลิตแป้งของมันสำปะหลังอย่างชัดเจน คือการใช้ปุ๋ย 16-8-24 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ให้ผลผลิตหัวสด และผลผลิตแป้งสูงสุด 7,216 และ 2,210 กก./ไร่ ทำให้มีรายได้และให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด มีกำไรสุทธิเฉลี่ยสูงสุด 13,586 บาท/ไร่ มันสำปะหลัง ทั้ง 3 พันธุ์ มีการดูดใช้โพแทสเซียมรวมทุกส่วน สูงกว่าไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยพันธุ์ระยอง 11 มีการดูดใช้ไนโตรเจนและโพแทสเซียมไปสะสมในหัวต่อตันผลผลิตสูงสุด การปลูกมันสำปะหลังซึ่งได้ผลผลิตเฉลี่ย 6,065 กก./ไร่ มีการดูดใช้ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ติดไปกับผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 2.72, 5.56 และ 17.07 กก.N-P-K ต่อไร่ หรือเทียบเท่าปุ๋ยเคมี 2.72-12.73-20.48กก./N-P2O5-K2Oไร่
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร