ประสิทธิภาพของไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง (Steinernema carpocapsae (Weiser) S.riobrave Cabanillas, Poinnar and Raulston และ S. siamkayai Stock, Somsook and Reid) ในการเข้าทำลายแมลงวันผลไม้ (Bactrocera dorsailis (Hendel)) ภายใต้สภาพต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการ
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2005.12คำสำคัญ:
ไส้เดือนฝอยศัตรูแมลง, Steinernema carpocapsae (Weiser), Steinernema riobrave Cabanilas, Poinar and Raulston, Steinernema siamkayai Stock, Soomsook and Reid, แมลงว้นผลไม้, Bsctrocera dorsalis (Hendel)บทคัดย่อ
Steinernema siamkayai ในการเข้าทำลายแมลงวันผลไม้ (oriental fruit fly; Bactrocera dorsalis (Hebdel) ) ในภาพห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ สำนักวิจัยัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2546-กันยายน พ.ศ.2547 โดยแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง คือ ในการทดลองที่ 1 วางแผนแบบ CRD 3 ซ้ำ 12 กรรมวิธี เป็นกรรมวิธีร่วมกัน (treatment combination) ระหว่างชนิดของไส้เดือนฝอย 3 ชนิด กับอัตราความหนาแน่นของไส้เดือนฝอย 4 ระดับ คือ 200 400 800 และ 1,600 ตัว/มล./ถ้วย การทดลองที่ 2 ประกอบด้วย 3 การทดลองย่อยที่แตกต่างกัน ตามระดับอุณหภูมิคือ 25 30 และ 35˚ ซ วางแผนแบบ CRD 3 ซ้ำ กรรมวิธี คือ ไส้เดือนฝอย 3 ชนิด วิเคราะห์รวมหลายการทดลอง (combined analysis) เพื่อหาปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนิดของไส้เดือนฝอยกับระดับอุณหภูมิ การทดลองที่ 3 วางแผนแบบ 3x3 Factorial in CRD 3 ซ้ำ โดยมี 3 ชนิดของไส้เดือนฝอยเป็นปัจจัย A และวัยต่างๆ ของแมลงวันผลไม้ ได้แก่ หนอนอายุ 5 วัน หรือวัย 3 ช่วงต้น อายุ 9 วัน หรือวัย 3 ก่อนเข้าดักแด้ และระยะดักแด้ หรืออายุ 11 วัน เป็นปัจจัย B ความหนาแน่นของไส้เดือนฝอยที่ใช้สำหรับการทดลองที่ 2 และ 3 คือ 800 ตัว/มล./ถ้วย และใช้หนอนแมลงวันผลไม้อายุ 5 วันสำหรับการทดลองที่ 1 และ 2 และทดลองที่ระดับอุณหภูมิ 25˚ ซ สำหรับการทดลองที่ 1 และ 3 พบว่าในการทดลองที่ 1 เมื่อเพิ่มความหนาแน่นของไส้เดือนฝอยเป็น 800 และ 1,600 ตัว/มล./ถ้วย หลังการทดลอง 72 ชั่วโมงทำการตรวจผล ทำให้อัตราการตายหนอนแมลงวันผลไม้อายุ 5 วัน 82.2 และ 86.7% ต่ำสุดอย่างชัดเจน ส่วนที่เกิดจากไส้เดือนฝอย S. carpocapsae มีแนวโน้มว่าประสิทธิภาพสูงสุด รองลงมา 71.1และ 80.0% S. ribrave และ 40.0% เท่ากัน S. siamkayai สูงขึ้น และแตกต่างกันจากความหนาแน่นที่ระดับต่ำกว่า คือ 200 และ 400 ตัว/มล./ถ้วย ซึ่งมีอัตราการตายเกิดจากไส้เดือนฝอยทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวอยู่ระหว่าง 20.0-53.3% เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละอัตรา ความหนาแน่นที่ 800 และ 1,600 ตัว/มล./ถ้วย ในการทดลองที่ 2 ที่ระดับอุณหภูมิ 25˚ ซ S.carpocapsae สามารถเข้าทำลายหนอนแมลงวันผลไม้วัย 3 ช่วงต้นได้ถึง 86.7% สูงกว่า S. riobrave ซึ่งทำลายได้ 75.6% ส่วนที่ 30˚ ซ ไส้เดือนฝอยทั้ง 2 ชนิดนี้มีเปอร์เซ็นต์การทำลายเท่ากันที่ 84.5 ซึ่งไม่แตกต่างกันกับที่ระดับ 25˚ ซ และที่ระดับ 35˚ ซ S. riobrave ยังมีประสิทธิภาพการทำลายสูงถึง 84.5% ในขณะที่ S. carpocapsae มีเปอร์เซ็นต์การทำลายลดลงเหลือเพียง 8.9 ซึ่งแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม S. siamkayai มีประสิทธิภาพต่ำสุดระหว่าง 22.2-35.6% ในทุกระดับอุณหภูมิ และแตกต่างกันไส้เดือนฝอย 2 ชนิดแรก ในการทดลองที่ 3 หนอนแมลงวันผลไม้อายุ 5 วัน วัย 3 ช่วงต้น และอายุ 9 วัน (วัย 3 ก่อนเข้าดักแด้) อ่อนแอต่อการเข้าทำลายของไส้เดือนฝอยทั้ง 3 ชนิดมากกว่าระยะดักแด้ ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถทำลายหนอนอายุ 5 วัน และ 9 วัน ได้ 86.7 และ 80% รองลงมาได้แก่ S. riobrave ซึ่งมีระดับการทำลาย 75.6 และ 62.2% ตามลำดับ ส่วน S. siamkayai มีระดับการทำลายต่ำสุด คือ 22.2 และ 8.9% ซึ่งมีความแตกต่างกัน S. siamkayai มีเปอร์เซ็นต์การทำลายหนอนวัย 3 ช่างต้นสูงกว่าและแตกต่างจากหนอนวัย 3 ก่อนเข้าดักแด้ ส่วนการทำลายดักแด้ของไส้เดือนฝอยทั้ง 3 ชนิดอยู่ในระดับต่ำ 0-6.7%
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร