การศึกษาปริมาณการตรึงไนโตรเจนและผลผลิตของถั่วเหลืองพันธุ์ต่าง ๆ ที่ปลูกในดินสภาพไถพรวนและไม่ไถพรวน โดย15N เทคนิค
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.1999.12คำสำคัญ:
การตรึงไนโตรเจน, พันธุ์ถั่วเหลือง, อิทธิพลของการไถพรวนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เพื่อประเมินหาพืชที่ไม่ตรึงไนโตรเจนที่ใช้เป็นพืชมาตรฐานในการวัดปริมาณการตรึงไนโตรเจนที่ใช้เป็นพืชมาตรฐานในการวัดปริมาณการตรึงไนโตรเจน โดยวิธี N isotope dilution เพื่อนำมาใช้ในการวิจัยผลของการไถพรวนและไม่ไถพรวนดินต่อผลผลิตและปริมาณการตรึงไนโตรเจนของถั่วเหลืองพันธุ์ต่าง ๆ ที่ปลุกทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ถั่วเหลืองญี่ปุ่นที่ไม่สร้างปมพันธุ์ Tol-O และ A62-2 เหมาะสมที่สุดที่จะใช้เป็นพืชมาตรฐานในการวัดปริมาณการตรึงไนโตรเจนของถั่วเหลืองพันธุ์ไทยในดินซึ่งมีเชื้อไรโซเบียมอยู่ตามธรรมชาติแล้วโดยวิธี N dilution ธัญญพืช เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และข้าวสาลีเหมาะสมที่จะใช้เป็นพืชมาตรฐานในบางท้องที่ อย่างไรก็ตามการเลือกพืชมาตรฐานที่เหมาะสม เพื่อการวิจัยนี้ยังมีช่องว่างให้ศึกษาได้ต่อไปในสภาพต่าง ๆ วิธีที่ดีที่สุดควรใช้พืชมาตรฐานหลายชนิด
การคัดเลือกพันธุ์ถั่วเหลืองที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน พบว่าพันธุ์ถั่วเหลืองแนะนำของไทย (สจ. 1,2,4,5) และสายพันธุ์จาก ASET (AVRDC Soybean Evaluation Trial) 16-4 ให้ผลแตกต่างเล็กน้อยในการตรึงไนโตรเจนหรือผลผลิต อาจเป็นไปได้ว่ามีต้นกำเนิดที่คล้ายคลึงกัน พันธุ์จาก ASET 10 สายพันธุ์ มีความสามารถใช้ไนโตรเจนจาก 3 แหล่ง (ดิน ปุ๋ย และอากาศ) และเคลื่อนย้ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสร้างผลผลิต อย่างไรก็ตามไม่มีสายพันธุ์ไหนที่ดีกว่าสายพันธุ์ สจ.4 และ สจ.5 ทั้ง ๆ ที่ ASET พันธุ์ 129, 208 และ 217 แสดงลักษณะที่ดีกว่า ASET พันธุ์อื่น ๆ มาก
ถั่วเหลืองที่ปลูกในสภาพไม่ไถพรวนให้ปริมาณการตรึงไนโตรเจนและผลผลิตดีกว่าที่ขอนแก่น ขณะที่การไถพรวนดีกว่าที่เชียงใหม่ โดยไม่มีความแตกต่างกันระหว่างพันธุ์ไทยและพันธุ์ ASET พันธุ์ถั่วเหลืองที่ปลูกในประเทศไทยเจริญเติบโตและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีในสภาพไม่ไถพรวน และปริมาณการตรึงไนโตรเจนได้ใกล้เคียงกับต่างประเทศ เฉลี่ยประมาณ 20 กก.N/ไร่ หรือมากกว่า 100 กก.N/เฮคตาร์ หรือประมาณ 50% ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในพืชซึ่งค่าใกล้เคียงกับต่างประเทศ อย่างไรก็ตามผลผลิตที่เชียงใหม่จะค่อนข้างต่ำไม่เกิน 320 กก./ไร่ หรือ 2 ตัน/เฮดตาร์ ซึ่งต่ำกว่าประเทศแถบอบอุ่น แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ถั่วเหลืองของไทยจะตรึงไนโตรเจนได้สูง แต่ปริมาณไนโตรเจนที่ตรึงได้ไม่ทำให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร