ความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองของพันธุ์ข้าวต่อความมืดและการทนน้ำท่วมฉับพลัน
บทคัดย่อ
ได้ศึกษาการเจริญเติบโตของข้าวในสภาพมืดและสภาพน้ำท่วมฉับพลันเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่รอดของข้าวในสภาพมืดและสภาพน้ำท่วมฉับพลัน ดำเนินการทดลองในฤดูแล้งปี พ.ศ. 2529 ที่สถานีทดลองข้าวหันตรา จ. พระนครศรีอยุธยา โดยปลูกข้าวจำนวน 20 สายพันธุ์ ในกระถางขนาดบรรจุดินแห้ง 4 กก. ใช้ดินตะกอนซึ่งได้จากคลองหันตราผสมปุ๋ยยูเรีย (46% N) ซุปเปอร์ฟอสเฟต (21% P2O5) และโพแทสเซียมคลอไรด์ (60% K2O) ในอัตรา 2,2 และ 1 กรัมต่อกระถาง ตามลำดับ แล้วนำไปปลูกทดสอบในห้องมืดในสภาพน้ำท่วมฉับพลันลึก 120 ซม. และสภาพน้ำท่วมฉับพลันอีก 120 ซม. พร้อมกับบังแสงแดดประมาณ 50% โดยใช้ตาข่ายไนล่อนเป็นเวลานาน 10 วัน เปรียบเทียบกับสภาพควบคุมซึ่งรักษาระดับน้ำประมาณ 5 ซม. เหนือผิวดินในกระถาง เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมและบันทึกการเจริญเติบโตของต้นข้าวก่อนทำการทดสอบ ในขณะที่ทำการทดสอบและหลังทำการทดสอบ
ผลการทดลองพบว่า การอยู่รอดของพันธุ์ข้าวในสภาพมืดคล้ายคลึงกับการอยู่รอดในสภาพน้ำท่วมฉับพลัน ยิ่งกว่านั้น ปริมาณของสารคลอดรฟีลล์ในใบข้าวซึ่งอยู่ในสภาพมืด 10 วันมีความสัมพันธ์กับการอยู่รอดในสภาพน้ำท่วมฉับพลัน แสดงให้เห็นว่าความแตกต่างของการตอบสนองและการอยู่รอดของข้าวในสภาพมืดซึ่งสัมพันธ์กับสภาพน้ำท่วมฉับพลันอาจเกี่ยวข้องกับปริมาณคาร์โบไฮเดรตในข้าวแต่ละพันธุ์ และการสะสมของ ethylen ในต้นข้าวในขณะทดสอบ นอกจากนั้นพบว่าข้าวหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะข้าวขึ้นน้ำยืดปล้องเมื่ออยู่ในสภาพมืดและในสภาพน้ำท่วมฉับพลัน ชี้ให้เห็นว่าการทดลองในสภาพมืดอาจนำไปใช้ทดสอบความสามารถในการยืดปล้องของข้าวได้ การบังแสงประมาณ 50% ไม่ทำให้มีผลแตกต่างจากการไม่บังแสง ทั้งนี้เนื่องจากน้ำที่ใช้ในการทดลองมีความขุ่นมาก ดังนั้น ปริมาณแสงในน้ำโดยเฉพาะในตำแหน่งที่ต้นข้าวตั้งอยู่ไม่แตกต่างกันมากนัก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารวิชาการเกษตร