ปริมาณการตรึงไนโตรเจนของถั่งเหลืองที่ปลูกในดินนา ภายใต้สภาพไถพรวน และไม่ไถพรวน จากการวัดโดยวิธีไอโซไทปเทคนิค
บทคัดย่อ
ทำการทดลองศึกษาการตรึงไนโตรเจนจากอากาศของถั่วเหลืองที่ปลูกในดินสภาพไถพรวนและไม่ไถพรวน โดยใช้ 15N- ไอโซโทปเทคนิค ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตองฤดูแล้ง 2526 ใช้ถั่วเหลืองพันธุ์ที่สร้างปม 3 พันธุ์ คือ สจ. 2, สจ. 5 , maturity 'F' (พันธุ์ของสหรัฐอเมริกา) และ (D 68-0099) (พันธุ์ถั่วเหลืองที่ไม่สร้างปม) ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปยูเรียอัตรา 0, 4.8, และ 24 กก. N/wij เก็บเกี่ยวถี่วเหลืองเมื่ออายุ 102 วัน ซึ่งเป็นระยะการเจริญเติบโตขณะฝักยาวเต็มที่ (R4) ของถั่วเหลืองพันธุ์ สจ. 2 และ สจ. 5
การทดลองครั้งนี้แสดงว่า ถั่วเหลืองที่ปลูกในดินนาตามหลังข้าวในดินเหนียวทางภาคเหนือจะตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้สูง การไถพรวนเตรียมดินปลูก และการไม่ไถพรวน ไม่มีอิทธิพลต่อการตรึงไนโตรเจนจากอากาศของต้นถั่วเหลือง ปริมาณไนโตรเจนในต้นถั่วเหลืองตรึงจากอากาศวัดโดยวิธีการใช้ปุ๋ยยูเรีย 15N ได้ค่าเฉลี่ย 70-75% มาจากปุ๋ย (ยูเรีย) ที่ใส่ 5-7% และประมาณ 20-25% ของไนโตรเจนในต้นถั่วเหลืองได้มาจากไนโตรเจนในดิน ผลผลิตถั่วเหลืองที่ปลูกโดยการไม่ไถพรวนดินสูงกว่าผลผลิตถั่วเหลืองที่ปลูกโดยการไถพรวนดินประมาณ 18% ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในต้นถั่วเหลือง 5.7 กก./ไร่ จะเป็นไนโตรเจนที่ตรึงจากอากาศ 4.2 กก./ไร่
ถั่วเหลืองที่มีระยะเวลาเก็บเกี่ยวเท่ากันจะตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ปริมาณเท่าเทียมกัน ถั่วเหลืองพันธุ์ สจ. 2 และ สจ. 5 สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาสได้สูงกว่าถั่วเหลืองพันธุ์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอายุสั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าจะปลูกในสภาพดินไถพรวนหรือไม่ไถพรวน อิทธิพลของปริมาณไนโตรเจนจากปุ๋ยต่อการตรึงไนโตรเจนจากอากาศแตกต่างกันในถั่วเหลืองแต่ละพันธุ์ ปริมาณไนโตรเจนจากอากาศที่ตรึงได้ของถั่วเหลืองพันธุ์ จส. 5 จะคงที่ แม้ว่าปุ๋ยยูเรียจะเพิ่มจาก 0 เป็น 4.8 กก.N/ไร่ และเมื่อใส่ปุ๋ยยูเรียสูงถึง 24 กก. N/ไร่ ปริมาณไนโตรเจนที่ตรึงได้จากอกาศลดลง 11-27% พันธุ์ maturity 'F' ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้น้อยกว่าพันธุ์ไทย สจ. 2 และ สจ. 5 ประมาณ 10% นอกจากนี้ ยังพบว่าการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตในดินที่มีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำจะช่วยเพิ่มทั้งผลผลิตและปริมาณไนโตรเจนที่ตึงได้จากอากาศของต้นถั่วเหลืองที่ปลูกในสภาพดินไม่ไถพรวน แต่จะไม่มีอิทธิพลต่อการตรึงไนโตรเจนภายใต้สภาพที่มีการไถพรวนเตรียมดิน
การใช้พืชมาตรฐานที่ไม่มีการตรึงไนโตรเจนจากอากาศเป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะใช้ 15N- Dilution Method คำนวณหาปริมาณไนโตรเจนที่พืชตระกูลถั่วตรึงได้ การใช้ถั่วเหลืองพันธุ์ไม่สร้างปมเป็นพืชมาตรฐานที่พบว่าดีที่สุด ส่วนการใช้เชื้อไรโซเยีมชนิด ineffective strain (Rhizobium japonicum) คลุกเมล็ด และใช้วิธีใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราสูง (เพื่อหยุดยั้งการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ) ให้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะยังมีการตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารวิชาการเกษตร