การประเมินศักยภาพผลผลิตของพันธุ์ถั่วลิสงฝักสดในจังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2021.23คำสำคัญ:
ถั่วลิสงฝักต้ม, จังหวัดเชียงใหม่บทคัดย่อ
การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตของ ถั่วลิสงฝักสดแต่ละพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ดำเนินการในไร่เกษตรกรในฤดูแล้งและฤดูฝน ตั้งแต่ เดือน ต.ค. พ.ศ. 2558 ถึง ก.ย. พ.ศ.2560 วางแผน การทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำทำการทดลอง ปลูกถั่วลิสง จำนวน 6 พันธุ์คือ ขอนแก่น 84-8, ขอนแก่น 6,ขอนแก่น 4ขอนแก่น 60-2,กาฬสินธุ์1 และกาฬสินธุ์2 ผลการทดลอง พบว่า ถั่วลิสงพันธุ์ ขอนแก่น 6 และพันธุ์กาฬสินธุ์2 ให้ผลผลิตฝักสด สูงสุดทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน โดยพันธุ์ขอนแก่น 6 ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 1,206 และ 679 กก./ไร่ ตามลำดับ และพันธุ์กาฬสินธุ์2 ให้ผลผลิตฝักสด เฉลี่ย 1,069 และ 665 กก./ไร่ ตามลำดับ ซึ่งพันธุ์ ขอนแก่น6 มีนำ้หนักเมล็ดสด100เมล็ดและความกว้าง ของฝักมากที่สุดส่วนพันธุ์กาฬสินธุ์2 มีความยาว ของฝักมาก ทำให้มีจำนวนเมล็ดต่อฝักมาก ดังนั้น ถั่วลิสงฝักสดทั้งสองพันธุ์มีความเหมาะสมในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เนื่องจาก มีศักยภาพให้ผลผลิตฝักสดสูง
References
กรมวิชาการเกษตร. 2545. เกษตรดีที่เหมาะสม สำหรับถั่วลิสง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประทศไทย จำกัด. 22 หน้า.
กรมวิชาการเกษตร. ม.ป.ป.. ฐานข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐ์ กรมวิชาการเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/cv/index.php? q=ถั่วลิสง สืบค้นเมื่อ: 29 ก.ค. 2564.
ฉันทนา คงนคร เอมอร เพชรทอง จิระ สุวรรณประเสริฐ พรอุมา เซ่งแซ่ และสะฝีหย๊ะ ราชนุช. 2558. การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตของพันธุ์ถั่วลิสงฝักต้มในพื้นที่ภาคใต้ . แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/plan/wp-content/uploads/2021/04/402.2.6 การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตของพันธุ์ถั่วลิสงฝักต้มในพื้นที่ภาคใต้.pdf. สืบค้นเมื่อ: 29 ก.ค. 2564.
ทักษิณา ศันสยะวิชัย สงบภัย นามไพศาลสถิตย์ และสมศักดิ์ ชูพันธุ์ 2541. ศึกษาการเจริญเติบโตและอายุการเก็บเกี่ยวของถั่วลิสงสายพันธุ์ (Tainan9xRCM387)-12 -3-11. หน้า 149-162. ใน: รายงานผลการวิจัย ปี 2540 ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร
ทักษิณา ศันสยะวิชัย สมศักดิ์ อิทธิพงษ์ และสงบภัย นามไพศาลสถิตย์ 2540. อิทธิพลของอุณหภูมิในฤดูกาลต่อพัฒนาการและการสุกแก่ของถั่วลิสง. หน้า 95-116.ใน:รายงานผลการวิจัยปี 2538 ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น (เล่ม 1) สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.
ทักษิณา ศันสยะวิชัย สมศักดิ์ อิทธิพงษ์ และอมฤต วงษ์ศิริ. 2542. การทดสอบการผลิตถั่วลิสงแปลงใหญ่ในไร่เกษตรกร III. ฤดูแล้งให้น้ำชลประทาน. ใน: รายงานผลการวิจัยปี 2531 ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร.
ทักษิณา ศันสยะวิชัย. 2545. ความแปรปรวนของผลผลิตถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น 5 จากอิทธิพลของวันปลูก. หน้า 205-211.ใน: รายงานการสัมมนาเรื่องงานวิจัยถั่วลิสงแห่งชาติครั้งที่ 16 ณ โรงแรมกรุศรีริเวอร์ พระนครศรีอยุธยา 1-3 พฤษภาคม 2545.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร. 2563. ถั่วลิสง ปี 2562. แหล่งข้อมูล: http://www.agriinfo.doae.go.th/year63/plant/rortor/agronomy/ถั่วลิสง.pdf สืบค้นเมื่อ: 29 ก.ค. 2564
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร. 2542. เอกสารวิชาการถั่วลิสง. โรงพิมพ์พระธรรมขันต์ จ.ขอนแก่น. 103 หน้า.
สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร. 2563. เอกสารคำแนะนำ เทคโนโลยีการผลิตถั่วลิสง. ธานี แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/fcri/wp-content/uploads/2020/tachno/E-Book-8.pdf สืบค้นเมื่อ: 29 ก.ค. 2564.
สุนทรีย์ สุรศร. 2549. การศึกษาศักยภาพขององค์ประกอบผลผลิตถั่วลิสงพันธุ์ต่าง ๆ ในสุราษฎร์ธานี. แหล่งข้อมูล: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/176970. สืบค้นเมื่อ: 29 ก.ค. 2564.
โสพิศ ใจปาละ อิสระ พุทธสิมมา สุทัด ปินตาเสน และจงรักษ์ พันธ์ไชยศรี. 2556. รูปแบบการผลิต และการตลาดถั่วลิสงในจังหวัดเชียงใหม่. หน้า 303- 308 ใน: การประชุมวิชาการพืชไร่วงศ์ถั่วเแห่งชาติครั้งที่ 4. วันที่ 27 – 29 สิงหาคม 2556 ณ โรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการเกษตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร