การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางเคมี สมบัติทางด้านความหนืด และการทำงาน ของเอนไซม์ไอโซอะไมเลสจากฟลาวร์ข้าวโพดข้าวเหนียว
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2022.24คำสำคัญ:
ข้าวโพดข้าวเหนียว, ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน, มบัติทางเคมี, มบัติทางด้านความหนืด, การทำงานของเอนไซม์ไอโซอะไมเลสบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางเคมี สมบัติทางด้านความหนืด และการทำงานของเอนไซม์ไอโซอะไมเลส ในแป้งฟลาวร์ที่ได้จากข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์การค้า (commercial hybrids) จำนวน 5 พันธุ์ ข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์แท้ (inbred lines) จำนวน 14 สายพันธุ์ และข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม (hybrids) จำนวน 11 ลูกผสม โดยนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ ตัวอย่างทั้งหมดที่ได้มาหาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (pearson correlation coefficient) พบว่า ปริมาณแป้งทั้งหมดมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับปริมาณอะไมโลสและปริมาณอะไมโลเพคติน ความหนืดสูงสุดมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับการแตกตัวของเม็ดแป้ง และกับการคืนตัวของแป้ง การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของสมบัติทางเคมีและสมบัติทางด้านความหนืด พบว่า ปริมาณแป้งทั้งหมดมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับความหนืดสูงสูด และการแตกตัวของเม็ดแป้ง เช่นเดียวกันกับปริมาณอะไมโลสและอะไมโลเพคติน ทีมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับความหนืดสูงสุด และการแตกตัวของเม็ดแป้ง การทำงานของเอนไซม์ไอโซอะไมเลสมีความสัมพันธ์ทางบวกกับแป้งทั้งหมดและปริมาณอะไมโลเพคติน แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับการคืนตัวของแป้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลของข้อมูลของหลายตัวแปรในงานวิจัยนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการนำมาใช้ในการคัดเลือกข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์แท้ ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวต่อไป
References
กิตติ บุญเลิศนิรันดร์ และ ชูศักดิ์ จอมพุก. 2556. การจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. ว. มทร. สุวรรณภูมิ 1(1): 41-50.
จารุวรรณ จันทร์โนนแซง สุจินต์ เจนวีรวัฒน์ เฉลิมพล ภูมิไชย์ และน้องนุช ศิริวงศ์. 2560. การประเมินเบื้องต้นของค่าความหนืดฟลาวร์และเนื้อสัมผัสของเมล็ดข้าวโพดขเวเหนียว. การประชุมวิชาการข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ ครั้งที่ 38 วันที่ 25-27 กรกฎาคม 2560. 328 หน้า
วิจิตรา เหลียวตระกูล และ วชิรญา เหลียวตระกูล. 2563. ผลของวิธีการดัดแปรแป้งด้วยกรดและพรีเจลาติไนเซซัน ต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของแป้งกระจับ. JFTSU 15(2): 82-95.
AOAC. 2005. Official Method of Analysis, 18thed. Association of Official Analytical Chemists, Maryland 20877–2417, USA.
Azanza, F., B.P. Klein and J.A. Juvik. 1996. Sensory characterization of sweet corn lines differing in physical and chemical composition. J. Food Sci. 61: 253–257.
Jian, M., Q.T. Jiang, X.W. Zhang, L. Wei, G.Y. Chen, P.F. Qi, Y.M. Wei, X.J. Lan, Z.X. Lu and Y.L. Zheng. 2014. Effect of lipids on starch determination through various methods. Pak. J. Agri. Sci. 51(3): 749-755.
Ketthaisong, D., B. Suriharn, R. Tangwongchai, J.L. Jane and K. Lertrat. 2015. Physicochemical and morphological properties of starch from fresh waxy corn kernels. J Food Sci Techol 52(10): 6529-6537.
Li, L., H. Jiang, M. Campbell, M. Blanco and J. Jane. 2008. Characterization of maize amylose-extender (ae) mutant starches. Part I: Relationship between resistant starch contents and molecular structures. Carbohydr. Polym. 74: 396-404.
Newport Scientific. 1997. Operation Manual for the Series 4 Rapid Visco Analyzer. Newport Scientific Pty, Ltd., Australia. 93 p.
Pérez, S. and Bertoft, E. 2010. The molecular structure of starch component and their contribution to
the architecture of starch granules. Starch/Stätke 62: 389-420.
Pfister, B. and S.C. Zeeman. 2016. Formation of starch in plant cells. Cell. Mol. Life Sci. 73(14): 2781–2807.
Roos, Y., and M. Karel. 1991. Water and molecular weight effects on glass transitions in amorphous
carbohydrates and carbohydrate solutions. J. Food Sci 56(6): 1676-1681.
Simla, S., K. Lertrat and B. Suriharn. 2010. Carbohydrate characters of six vegetable waxy corn varieties as affected by harvest time and storage duration. Asian J.Plant Sci. 9(8): 1–8.
Stevenson, D.G., J. Jane and G.E. Inglett. 2007. Structures and physicochemical properties of starch form immature seeds of soybean varieties (Glycine max (L.) Merr.) exhibiting normal, low– linolenic or low–saturated fatty acid oil profiles at maturity. Carbohydr. Polym. 70: 149–159.
Subaric, D., D. Ackar, J. Babic, N. Sakac, and A. Jozinovic. 2014. Modification of wheat starch with succinic acid/acetic acid anhydride and azelaic acid/acetic mixture I. thermophysical and pasting properties. Food Sci. and Technol. 51(10): 2616-2623.
Tsakama, M., A.M. Mwangwela, T.A. Mamani and N.M. Mahungu. 2010. Physiochemical and pasting
properties of starch extracted from eleven sweetpotato varieties. Afr. J. Food Sci. 1(4): 90–98.
Yadav, D. and P.E. Patki. 2015. Effect to acetyl esterification on physicochemical properties of chick pea
(Cicer arietinum L.) starch. Food Sci. Technol. 52(7): 4176-4185).
Zady, M.F. 2000. Correlation and simple least squares regression. In: Basic statistics, Clinical Laboratory
Science Program, University of Louisville, Louisville, Kentucky. Available at: https://www.westgard.com/lesson42.htm. Accessed: August 21, 2022.
Zhang, X., L. Fu, Y. Tu, H. Zhao, L. Kuang and G. Zhang. 2020. The influence of nitrogen application level on eating quality of the two indica–japonica hybrid rice cultivars. Plants. 9(1663): 1–13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการเกษตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร