การจำลองการให้น้ำอ้อยด้วยตัวควบคุมแบบฟัซซี่

ผู้แต่ง

  • ตฤณสิษฐ์ ไกรสินบุรศักดิ์ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
  • ประสาท แสงพันธุ์ตา สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
  • พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
  • มงคล ตุ่นเฮ้า สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
  • นิรุติ บุญญา สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
  • รัชดา ปรัชเจริญวนิชย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร จ.นครราชสีมา, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4
  • อนุชา เชาว์โชติ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร
  • อนุสรณ์ เทียนศิริฤกษ์ กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
  • กันต์ธกรณ์ เขาทอง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มานพ คันธามารัตน์ สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร

DOI:

https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2023.8

คำสำคัญ:

ตัวควบคุมฟัซซี่, อ้อย, ระบบน้ำหยด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ทฤษฎีฟัซซี่เซต เพื่อออกแบบตัวควบคุมฟัซซี่ และจำลองการให้ น้ำของตัวควบคุมฟัซซี่ โดยใช้โปรแกรม MATLAB Simulink เปรียบเทียบกับผลการคำนวณการให้น้ำตามระดับความชื้นดินในแปลงปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา ซึ่งเป็นระบบน้ำหยด โดยตัวควบคุมฟัซซี่ที่ออกแบบ จะนำค่าความชื้นดินในช่วงความชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (available water capacity; AWC) และความชื้นสัมพัทธ์อากาศมาประมวณผลปริมาณน้ำที่ จะเติมเข้าไปในแปลงอ้อยในรูปแบบช่วงเวลาในการเปิดปั๊มน้ำในแปลงอ้อยที่ใช้กลไกการอนุมานของ Mamdani และ Assilian โดยใช้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในการสร้างกฏพื้นฐานของฟัซซี่ เพื่อให้ได้ระยะเวลาของการให้น้ำที่เหมาะสมกับอ้อย ผลการทดลองพบว่า การจำลองช่วงเวลาในการเปิดปั๊มน้ำของตัวควบคุมฟัซซี่ และการคำนวณช่วงเวลาในการเปิดปั๊มน้ำโดยวิธีการให้น้ำตามระดับความชื้นดินไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยตัวควบคุมฟัซซี่ที่ออกแบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ประโยชน์ คำสวัสดิ์. 2560. การออกแบบและพัฒนาระบบการให้น้ำอัตโนมัติด้วยตัวควบคุมแบบฟัชซี่. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 58 หน้า

ปรีชา กาเพ็ชร, ทักษิณา ศันสยะวิชัย, กาญจนา กิระศักดิ์ และสุพัฒตรา คณานิตย์. 2553. การตอบสนองของอ้อย (Sacharum officinarum L.) พันธุ์ขอนแก่น 3 ต่ออัตราการให้น้ำในปริมาณจำกัด. วารสารวิชาการเกษตร 28(3): 306-316.

อุทัย อารมณ์รัตน์. 2523. การชลประทานและการใช้น้ำของอ้อย, หน้า.76-82. ใน: รายงานผลการวิจัยประจำปี 2523 สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

Cazemier, D.R., Lagacherie, P. and Martin-Clouaire.R. 2001. A possibility theory approach for estimating available water capacity from imprecise information contained in soil databases. Geoderma. 103: 113-132.

Hsiao T.C. 1973. Plant responses to water stress. Ann. Review of Plant Physiol. 24:519-570.

Kevin, M.P. and Stephen, Y. 1998. Fuzzy Control. Pages 82-99. In: Fuzzy Logic Controller, Addison Wesley Longman, California USA.

Mamdani, E.H. and Assilian, S. 1975. An Experiment in Linguistic Synthesis with a Fuzzy Logic Controller. International Journal of Man-Machine Studies. 7(1): 1-13.

Saruwatari, N. and Yomota, A. 1995. Forecasting system of irrigation water on paddy field by fuzzy theory. Agricultural Water Management. 28: 163-167.

Takagi, T. and Sugeno, M. 1985. Fuzzy Identification of Systems and Its Applications to Modeling and Control. IEEE Transactions on Systems, Man, and Cybernetics. 15(1):116-132.

Zadeh, L.A. 1975. Fuzzy Sets: Fuzzy Logic and Fuzzy Systems. World Scientific Publishing, NJ USA. 975 p.

Zadeh, L.A. 1975. The Concept of a Linguistic Variable and Its Application to Approximate Reasoning-II. Information Sciences. 8(4): 301-357.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25

How to Cite

ไกรสินบุรศักดิ์ ต. ., แสงพันธุ์ตา ป. ., จารุวัฒน์ พ., ตุ่นเฮ้า ม., บุญญา น. ., ปรัชเจริญวนิชย์ ร. ., เชาว์โชติ อ., เทียนศิริฤกษ์ อ., เขาทอง ก. ., & คันธามารัตน์ ม. . (2023). การจำลองการให้น้ำอ้อยด้วยตัวควบคุมแบบฟัซซี่ . วารสารวิชาการเกษตร, 41(1), 80–90. https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2023.8