การศึกษาคุณภาพเมล็ด ลักษณะสัณฐานวิทยาของเมล็ดและต้นกล้ากัญชาพันธุ์พื้นเมือง ของประเทศไทย และพันธุ์การค้าจากต่างประเทศ
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2023.23คำสำคัญ:
กัญชา, เมล็ดพันธุ์, ลักษณะสัณฐานวิทยา, พันธุ์พืชเมือง, พันธุ์ต่างประเทศบทคัดย่อ
กัญชาเป็นพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาการศึกษาวิจัยด้านเมล็ดพันธุ์ยังมีข้อจำกัด เนื่องจากบทบัญญัติด้านกฎหมาย ดังนั้น การวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพเมล็ด ลักษณะ สัณฐานวิทยาของเมล็ดพันธุ์และต้นกล้ากัญชา พันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ที่รวบรวมได้ในประเทศไทย จำนวน 10 พันธุ์ และกัญชาพันธุ์การค้าจากต่าง ประเทศ จำนวน 5 พันธุ์ดำเนินการ ณ โรงเรือน ปลูกกัญชา สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช และสำนักคุ้มครอง พันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ระหว่างเดือน มี.ค. 2564 – ม.ค. 2565 จากการศึกษาพบว่า เมล็ด พันธุ์กัญชาพื้นเมืองและพันธุ์ที่รวบรวมได้ใน ประเทศไทย มีสีพื้นและลวดลายเป็นสีเทา น้ำตาล และดำส่วนเมล็ดพันธุ์กัญชาพันธุ์การค้าจากต่าง ประเทศมีสีพื้นเทาและลวดลายเป็นสีน้ำตาลขนาด และน้ำหนัก 100 เมล็ด พบว่า เมล็ดพันธุ์กัญชา พื้นเมือง และพันธุ์ที่รวบรวมได้ในประเทศไทยมี ความหลากหลายมากกว่าเมล็ดพันธุ์กัญชาพันธุ์ การค้าจากต่างประเทศ โดยมีน้ำหนัก 1.1 - 3.1 และ 2.4 - 4.7 ก. ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า เมล็ดพันธุ์กัญชาพันธุ์การค้าจากต่างประเทศมี ความงอก (100 %) ความเร็วในการงอก (1.4 – 2.1 ต้น/วัน) และความสูงของต้นกล้ากัญชาที่อายุ 7 วันหลังเพาะ (7.0 – 9.2 ซม.) ซึ่งสูงกว่าเมล็ด พันธุ์กัญชาพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ที่รวบรวมได้ใน ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตของ ต้นกล้ามีลักษณะการพัฒนาของใบที่1-5เหมือนกัน โดยใบที่ 2 เป็นรูปนิ้วมือ จำนวน 3-5 แฉก และ จำนวนแฉกเพิ่มขึ้นจนใบที่ 5 จะมีแฉก 7-9 แฉก ข้อมูลที่ได้จากงานทดลองนี้สามารถนำไปใช้ในการ บริหารจัดการเมล็ดพันธุ์วางแผนการปลูก หรือการ คัดเลือกพันธุ์/ปรับปรุงพันธุ์กัญชาในประเทศไทย เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์จากกัญชาในทางการ แพทย์ในอนาคต
References
จวงจันทร์ ดวงพัตรา. 2529. เทคโนโลยีของเมล็ดพันธุ์.กลุ่มหนังสือเกษตร, กรุงเทพฯ. 210 หน้า.
บุญมีศิริ.2559.การปรับปรุงสภาพ และยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 239 หน้า.
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์2564. เรื่องกำหนดมาตรฐาน คุณภาพ และวิธีเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ควบคุม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2021/08/Q.6-Canabis-2564.pdf สืบค้น: 15 มิถุนายน 2564.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข2565. เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565. แหล่งข้อมูล: https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=11472. สืบค้น: 15 มิถุนายน 2564.
ประภัสสร ทิพย์รัตน์. 2565. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่. “พืชกัญชา: ความรู้ทั่วไป และการตรวจสอบสารสำคัญ”. แหล่งข้อมูล: https://www.oncb.go.th/ncsmi/cannabis4/.pdf.สืบค้น: 15 มิถุนายน 2564.
วันชัย จันทร์ประเสริฐ. 2553. สรีรวิทยาเมล็ดพันธุ์.ภาควิชาพืชไร ่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 213 หน้า.
สุรศักดิ์อิ่มเอี่ยม ศรัณณัฏฐ์แสนเสนาะ ประเสริฐสุขเจริญและฉัตรชัย สวัสดิไชย. 2562. ยาน่ารู้: กัญชา.วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 36(4) : 356 - 362.
Acquaah, G. 2015. Conventional Plant Breeding Principles and Techniques. pp. 115–158 In: Advances in Plant Breeding Strategies: Breeding, Biotechnology and Molecular Tools. Springer, Cham. https://doi.org/ 10.1007/978-3-319-22521-0_5.
Chandra,S.,H.,Lata, I.A.,KhanandM.A.,ElSohly.2017. Cannabis sativa L.:botany andhorticulture. pp.79-100. In: Cannabis sativa L..-botany and biotechnology. Springer, Cham.
ClarkeR.1999.BotanyoftheGenusCannabis.pp.1-18. In: Advance in Hemp Research. CRC Press.
Dunford, N. 2020. Hemp Seed Oil Properties. Extensionof Oklahoma State University. USA. Available at: https://extension.okstate.edu/ fact-sheets/hemp-seed-oil-properties.html Accessed: November 5, 2022.
Ellison, S.2021. Hemp(Cannabis sativaL.) research priorities: Opinions from United States hemp stakeholders. GCB Bioenergy. 13(4): 562-569.
Elias, S.G., Y.C., Wu and C. S. David. 2020. Seed Quality of Hemp. Journal of Agricultural Hemp Research. 2(1) Article 2. Available at: https://digitalcommons.murraystate.edu/ jahr/vol2/iss1/2 Accessed: January 5, 2023.
Falconer, D S. 1989. Introduction to quantitative genetics. New York, Longman. 361 p.
ISTA. 2020. International rules for seed testing. ISTA, Bassersdorf, Switzerland. 300 p.
Mašková, T. and T. Herben. 2018. Root: shoot ratio in developing seedlings: How seedlings change their allocation in response to seed mass and ambient nutrient supply.Ecol. Evol.8(14):7143-7150.
Mi, R., A.G., Taylor, L.B., Smart and N.S., Mattson. 2020. Developing production guidelines for baby leaf hemp (Cannabis sativa L.) as an edible salad green: Cultivar, sowing density and seed size. Agriculture. 10(12): 617.
Piluzza, G., G., Delogu, A., Cabras, S., Marceddu and S., Bullitta.2013. Differentiationbetween fiber and drug types of hemp (Cannabis sativa L.) from a collection of wild and domesticated accessions. Genet. Resour. Crop. Evol. 60(8): 2331-2342.
Ranalli, P. 1999. Agronomical and physiological advances in hemp crops. pp. 61-84. In: Advances in Hemp Research. CRC Press.
Taylor, A. G., M., Amirkhani and H. Hill,2021. Modern seed technology. Agriculture. 11(7): 630.
Tenikecier, H. S. and T. Genctan, 2020. Effect of endosperm and seed size on some yield andquality characteristicsof wheat (triticum aestivum l. em thell). Current Trends in Natural Sciences. 9(17): 132-141.
White, C.M. 2019. A review of human studies assessing cannabidiol’s (CBD) therapeutic actions and potential. J. Clin. Pharmacol. 59(7): 923-934.
Yoshimatsu, K.,T. Kitazawa, N. Kawano, O. Iida and N. Kawahara. 2010. Characteristics of Cannabis sativaL.: Seedmorphology, germination and growth characteristics, and distinction from Hibiscus cannabinus L. Yakugaku Zasshi. J. Pharm Sci. Jpn. 130(2): 237-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการเกษตร

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร