การเปรียบเทียบผลผลิตกล้วยไข่สายพันธุ์กลายจากการฉายรังสีแกมมา

ผู้แต่ง

  • ปิยะนุช มุสิกพงศ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150
  • ชญานุช ตรีพันธ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150
  • สุมาลี ศรีแก้ว ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150
  • ศุภลักษณ์ อริยภูชัย ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150
  • อรรถพล รุกขพันธ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 92150

DOI:

https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2024.26

คำสำคัญ:

กล้วยไข่, คุณภาพของผลผลิต, การกลายพันธุ์

บทคัดย่อ

การปลูกกล้วยไข่พันธุ์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่เป็นวิธีการหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ จึงทำการเปรียบเทียบกล้วยไข่สายพันธุ์กลายจากการฉายรังสีเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพให้ผลผลิตสูงและคุณภาพเหมาะสมสำหรับการผลิตเชิงการค้า ดำเนินการทดลอง ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง อ.สิเกา จ.ตรัง ระหว่างเดือน ต.ค. 2561 – ก.ย. 2563 วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ จำนวน 3 ซ้ำ มี 6 กรรมวิธี คือ กล้วยไข่สายพันธุ์ KM8-22 KM9-20 KM22-5 KM22-27 KM30-11 และกล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชร (พันธุ์การค้า) พบว่า สายพันธุ์ KM22-27 KM30-11 และพันธุ์กำแพงเพชร ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน โดยให้น้ำหนักผลผลิตในปีแรก ปีที่สอง และเฉลี่ยสองปี ระหว่าง 3,909-4,180 3,989-4,248 และ 3,980-4,149 กก./ไร่ ตามลำดับ ด้านคุณภาพ พบว่า สายพันธุ์ KM22-27 และ KM30-11 มีรสเปรี้ยวน้อยกว่าพันธุ์กำแพงเพชรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้สายพันธุ์ KM22-27 และ KM30-11 มีองค์ประกอบของผลผลิต ได้แก่ น้ำหนักเครือ น้ำหนักหวี น้ำหนักผล และความยาวของผลไม่แตกต่างกันทางสถิติกับพันธุ์กำแพงเพชร ดังนั้น กล้วยไข่สายพันธุ์ KM22-27 และ KM30-11 จึงเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพสำหรับการผลิตเชิงการค้าในเขต จ.ตรัง และเขตภาคใต้ในอนาคต

References

กรมศุลกากร. 2566. Lady’s finger banana. แหล่งข้อมูล: https://www.customs.go.th. สืบค้น: 11 มิถุนายน 2567.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2566. รายงานสถานการณ์การปลูกกล้วยไข่ ปี 2566. ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร (รต.) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://production.doae.go.th. สืบค้น: 27 พฤษภาคม 2567.

จริงแท้ ศิริพานิช. 2541. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 396 หน้า.

ทวีศักดิ์ แสงอุดม. 2565. เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไข่เพื่อการส่งออก. แหล่งข้อมูล: https://www.doa.go.th/hort/wp.pdf. สืบค้น: 27 กันยายน 2566.

เพ็ญจันทร์ สุทธานุกูล จิดาภา สุภาผล รักชัย คุรุบรรเจิดจิต และสุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ. 2558. คัดเลือกพันธุ์กล้วยไข่ที่กลายพันธุ์จากการฉายรังสี. หน้า 1-7. ใน: รายงานผลงานเรื่องเต็ม ปี 2558. ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย กรมวิชาการเกษตร.

เพ็ญจันทร์ สุทธานุกูล สุภาภรณ์ สาชาติ สุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ และรักชัย คุรุบรรเจิดจิต. 2561. การเปรียบเทียบพันธุ์กล้วยไข่ที่กลายพันธุ์จากการฉายรังสี. หน้า 2-18. ใน: รายงานผลงานเรื่องเต็ม ปี 2561. ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย กรมวิชาการเกษตร.

อภิชาติ ศรีสอาด. 2560. กล้วยไข่ยุคใหม่ทำเงิน 5 ภาค. บ. นาคา อินเตอร์มีเดีย จำกัด, สมุทรสาคร. 120 หน้า.AOAC. 2000. Official Methods of Analysis of AOAC International. 17th ed., Maryland. USA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18

How to Cite

มุสิกพงศ์ ป., ตรีพันธ์ . ช., ศรีแก้ว ส., อริยภูชัย ศ. . ., & รุกขพันธ์ อ. . (2024). การเปรียบเทียบผลผลิตกล้วยไข่สายพันธุ์กลายจากการฉายรังสีแกมมา. วารสารวิชาการเกษตร, 42(3), 330–339. https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2024.26