ออกแบบและพัฒนากลไกของเครื่องสางใบอ้อยสำหรับอ้อยตัดทำพันธุ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2016.3คำสำคัญ:
กลไกเลื่อนข้อเหวี่ยง, ตัวควบคุมการหมุนของลูกตีใบ, เครื่องสางใบอ้อยบทคัดย่อ
การสางใบอ้อยจะทำก่อนการเก็บเกี่ยว อ้อยประมาณ 2 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ แรงงานเข้าตัดอ้อยได้สะดวก โดยไม่ต้องเผาใบ ทำให้อากาศระบายได้ดี ลำต้นอ้อยได้รับแสงแดด อ้อยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เครื่องสางใบอ้อยที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบันจะใช้สางใบอ้อยสำหรับตัดอ้อยเข้า โรงงาน แต่ไม่สามารถใช้สางใบอ้อยสำหรับอ้อย ตัดทำพันธุ์ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบกลไกการสางใบอ้อยสำหรับอ้อยตัดทำ พันธุ์ โดยประยุกต์ใช้กลไกแบบ Slider - crank เพื่อให้ลูกตีใบสามารถเคลื่อนที่ขึ้น-ลงในแนวดิ่ง โดยพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก 22 แรงม้า สามารถตีใบอ้อยที่ระยะความสูงจากพื้นดินขึ้นไป จนถึงระยะ 2.35 ม. ต้นกำลังการหมุนลูกตีใบใช้ มอเตอร์กระแสตรงขนาด 900 วัตต์ 24 โวลต์ และควบคุมการหมุนด้วยไมโครคอนโทรเลอร์ส่ง สัญญาณ PWM (Pulse Width Modulation) เป็น duty เปลี่ยนรอบการหมุนของลูกตีใบตาม ความสูงของต้นอ้อยแบบอัตโนมัติ เมื่อทดสอบ กับอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่มีอายุ 6 เดือน ใน อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีความสูงเฉลี่ย 2.05 ม. พบว่าที่ความเร็วในการเคลื่อนที่ของรถแทรกเตอร์ 2.09 กม./ชม. (Low 2) ความเร็วเชิงเส้นในแนว ดิ่งของลูกตีใบ 0.5 ม./วินาที ทิศทางการหมุน ของลูกตีใบ หมุนตีขึ้น ตาต้นอ้อยสูญเสียน้อย ที่สุด 1.38% ลำต้นอ้อยเสียหายน้อยที่สุด 1.45% อัตราการทำงาน 0.84 ไร่/ชม. พลังงาน ไฟฟ้ารวมที่ใช้เฉลี่ย 37.33 แอมป์/ชม. และมี อัตราการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่ำสุด 4.11 ล./ไร่ โดยเครื่องสางใบอ้อยต้นแบบมีราคา 35,000 บาท ค่าจ้างสางใบอ้อยด้วยเครื่องสางใบทั่วไปคือ 250 บาท/ไร่ ทำงาน 8 ชม/วัน ดังนั้นจากผล วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เครื่องสางใบอ้อย ต้นแบบมีจุดคุ้มทุนที่ 182.37 ไร่ และมีระยะ เวลาคืนทุน 1.58 ปี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการเกษตร (Thai Agricultural Research Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร