การเก็บรักษาเมล็ดถั่วเขียวที่เหมาะสมเพื่อลดการสูญเสียปริมาณสารไอโซฟลาโวนส์
คำสำคัญ:
การเก็บรักษา, ความชื้น, ถั่วเขียว, สารไอโซฟลาโวนส์, อุณหภูมิบทคัดย่อ
ไอโซฟลาโวนส์ (isoflavones) เป็นสาร ที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ในสตรี ถูกสร้างขึ้นในพืชวงศ์ถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วปากอ้า เนื่องจากข้อมูลของ ไอโซฟลาโวนส์ ในถั่วเขียวมีน้อยมาก จึงศึกษา ปริมาณสารไอโซฟลาโวนส์ในเมล็ดถั่วเขียว และ วิธีการเก็บรักษาเมล็ดที่ความชื้นเมล็ดเริ่มต้นก่อน การเก็บรักษา อุณหภูมิ และระยะเวลาที่แตกต่าง กัน เพื่อลดการสูญเสียปริมาณสารไอโซฟลา โวนส์ ดำเนินการทดลอง ระหว่างเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2554 – เดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2556 ใน ถั่วเขียว 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ชัยนาท 72 และ กำแพงแสน 2 วางแผนการทดลองแบบ Split plot 3 ซ้ำ ให้ระดับความชื้นเริ่มต้นเป็น Main plot มี 2 ระดับ คือ 10 และ 14% อายุการ เก็บรักษา 0 - 12 เดือนเป็น sub plot มี 13 ระดับ และศึกษาปฏิสัมพันธ์ทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ ความชื้นเมล็ดเริ่มต้น อุณหภูมิ และอายุการเก็บ รักษาของแต่ละพันธุ์โดยการวิเคราะห์รวม (Combined Analysis of Variance over Temperature) พบว่าถั่วเขียวทั้ง 2 สายพันธุ์เมื่อ เก็บรักษาไว้เป็นเวลา 2 เดือนมีปริมาณสารไอ โซฟลาโวนส์เพิ่มสูงขึ้นในทุกกรรมวิธี และการ เก็บรักษาเมล็ดถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 72 ที่ ความชื้นเมล็ดเริ่มต้น 10 % อุณหภูมิ 15 °ซ มี ปริมาณสารไอโซฟลาโวนส์สูงที่สุด คือ 4.46 ไมโครกรัม/กรัม ส่วนเมล็ดถั่วเขียวพันธุ์ กำแพงแสน 2 ที่ความชื้นเมล็ดเริ่มต้น 10 % และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 ºซ มีปริมาณสาร ไอโซฟลาโวนส์สูงที่สุด คือ 4.06 ไมโครกรัม/กรัม หลังจากนั้นเมื่อเก็บรักษานานเกิน 2 เดือน ปริมาณสารไอโซฟลาโวนส์มีแนวโน้มลดลงอย่าง ต่อเนื่อง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการเกษตร (Thai Agricultural Research Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร