การกระจายตัวของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของแววมยุราลูกผสม (Torenia fournieri x Torenia baillonii) ที่เป็นเตตระพลอยด์ในประชากรรุ่นที่ 2

ผู้แต่ง

  • จันจิรา รัตนะ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ วิทยาเขตบางเขน
  • ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
  • วงศ์ชาวจันท์ วงศ์ชาวจันท์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
  • ชินจู คิคูจิ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยชิบ้า ชิบ้า

DOI:

https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2013.20

คำสำคัญ:

การกระจายตัว, แววมยุราลูกผสม, โพลีพลอยด์

บทคัดย่อ

แววมยุราลูกผสมระหว่าง  Torenia foumieri (2n=2x=18) เท่ากับ Torenia baillonii (2n=2x=16) ได้ลูกผสมที่มีลักษณะเป็นหมันจำนวนโครโมโซม 2n=2x=17 เมื่อทำการเพิ่มโครโมโซมโดยการใช้สารละลายโคลชิชินชนิดเม็ด ได้ลูกผสมเตตระพลอยด์ที่มีจำนวนโครโมโซม 2n=4x=34 ซึ่งมีความสมบูรณ์พันธุ์ จึงได้ศึกษาการกระจายตัวในประชากรลูกผสมรุ่นที่ 2 ของแววมยุราลูกผสมที่เป็นโพลีพลอยด์จำนวน 215 ตัน ที่ภาควิชาพืชสวนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน พบว่ามีการกระจายตัวแบบต่อเนื่องของความสูงดันโดยมีค่าระหว่าง 4-30 ซม. ขนาดทรงพุ่ม 2.6-41 ซม. ความกว้างใบ 1-32 ซม. ความยาวใบ 1-3.9 ซม. ลักษณะสีดอกมีการกระจายตัวแบบต่อเนื่องโดยมีการกระจายตัวของสัดส่วนระหว่างสีม่วงและสีเหลือง โดยสีดอกจะเปลี่ยนแปลงจากการค่อย ๆ ลดลงของสีม่วง และเพิ่มขึ้นของสีเหลือง ทั้งนี้พบการกระจายตัวแบบกลุ่มของสีต้นและสีใบ โดยพบว่าอัตราส่วนของประชากรต้นหรือใบสีแดง : สีเขียวคือ 3:1 สำหรับลักษณะที่ไม่มีการกระจายตัวเกิดขึ้นได้แก่รูปทรงใบและการเลื้อยของต้น แสดงว่าโครโมโซมส่วนนั้นมีลักษณะเหมือนกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-03-31

How to Cite

รัตนะ จ., เตชะศีลพิทักษ์ ธ., วงศ์ชาวจันท์ ว., & คิคูจิ ช. (2013). การกระจายตัวของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของแววมยุราลูกผสม (Torenia fournieri x Torenia baillonii) ที่เป็นเตตระพลอยด์ในประชากรรุ่นที่ 2. วารสารวิชาการเกษตร, 31(1), 2–12. https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2013.20