การส่งถ่ายยีน Antisense ACC Oxidase สู่โปรโตคอร์มกล้วยไม้เอื้องดอกมะขาม (Dendrobium delacourii Guill) โดยใช้ Agrobacterium tumefaciens เป็นตัวกลาง
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2013.1คำสำคัญ:
การส่งถ่ายยีน, เอื้องมะขาม, ซีโฟแทกซีม, ไฮโกรมัยซินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการส่งถ่ายยืน antisense ACC oxidase สู่โปรโตคอร์ม กล้วยไม้เอื้องดอกมะขามโดยใช้ Agrobacterium tumefaciens เป็นตัวกลางในการส่งถ่ายยีน การศึกษาอิทธิพลของสารปฏิชีวนะซีโฟแทกซีมต่อการเจริญของเชื้อ A. tumefaciens สายพันธุ์ LBA 4404 (pCAMBIA 1305.1 ที่มียีน antisense ACC oxidase และมียีน hptll เป็นยีนเครื่องหมาย) ในอาหารเหลว LB เป็นเวลา 24 ชม. พบว่ามีการเจริญของเชื้อ Agrobacterium ที่ได้จากการเลี้ยงในอาหารที่ไม่มีซีโฟแทกซีมและที่มีซีโฟแทกซีม 25 มก./ล. เท่านั้น ที่ความเข้มข้น 50 70 100 125 150 และ 175 มก./ล. ไม่มีการเจริญของเชื้อเกิดขึ้น การเพาะเลี้ยงโปรดตคอร์มเอื้องดอกมะขามบนอาหารสังเคราะห์สูตร VW ดัดแปลง ที่เติมสารปฏิชีวนะซีโฟแทกซีมความเข้มข้น 100-500 มก./ล. พบว่าโปรโตคอร์มเอื้องดอกมะขามสามารถเจริญเติบโตได้ในอาหารสังเคราะห์ที่เติมซีโฟแทกซีมทุกระดับความเข้มข้นและสามารถเจริญเติบโตได้ในซีโฟแทกซีมความเข้มข้มสูงสุดที่ 500 มก./ล. และเมื่อเพาะเลี้ยงโปรโตคอร์มกล้วยไม้ในอาหารที่เติมสารปฏิชีวนะไฮโกรมัยซินในความเข้มข้นระดับต่าง ๆ กัน พบว่าอัตราการรอดชีวิตของโปรโตคอร์มเอื้องดอกมะขาม ที่เพาะเลี้ยงในอาหารที่เติมสารปฏิชีวนะไฮโกรมัยซินที่ระดับความเข้มข้น 10 15 20 25 และ 30 มก./ล. โปรโตคอร์มไม่สามารถเจริญเติบโตได้ โปรโตคอร์มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองซีด จากนั้นจะกลายเป็นสีน้ำตาลและตายไปในที่สุด และจากการบ่มโปรโตคอร์มกล้วยไม้เอื้องดอกมะขามร่วมกับ A. tumefaciens สายพันธุ์ LBA 4404 (pCAMBIA 1305.1) ที่อุณหภูมิห้อง พบว่าระยะเวลาที่เหมาะสมในการบ่มโปรโตคอร์มเอื้องดอกมะขามกับเชื้อ Agrobacterium คือ 20 นาที เนื้อเยื่อพืชมีการแสดงออกเป็นยีน Gus จากการตรวจสอบด้วยวิธี Gus assay
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการเกษตร (Thai Agricultural Research Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร