องค์ประกอบทางพันธุกรรมของลูกผสมดีเด่นในข้าวลูกผสมชั่วที่ 1
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2013.14คำสำคัญ:
ยีนแบบบวกสะสม, ยีนแบบข่มทางบวกหรือทางลบ, ยีนแบบข่มเกินกว่าพ่อแม่ค่าต่ำ หรือพ่อแม่ค่าสูง, ค่ากึ่งกลางระหว่างพ่อและแม่บทคัดย่อ
การใช้ประโยชน์จากความดีเด่นของลูกผสม (heterosis) ในข้าว ทำให้ผลผลิตของข้าวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในงานวิจัยนี้เพื่อจำแนกรูปแบบองค์ประกอบทางพันธุกรรมของยีนที่ควบคุมความดีเด่นลูกผสม F1 ในลักษณะความยาวลำต้นองค์ประกอบของผลผลิต ปริมาณอะไมโลสในเมล็ด และปริมาณแอนโธไซยานินในรายละเอียด โดยปลูกข้าวลูกผสม F1 ของ 2 คู่ผสมคือ ข้าวเจ้าก่ำสายพันธุ์เด่น F8 x พันธุ์ปทุมธานี 1 และข้าวเจ้าก่ำสายพันธุ์เด่น F8 x พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เปรียบเทียบกันพันธุ์พ่อปทุมธานี 1 และขาวดอกมะลิ 105 ในกระถางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม สูง 10 ซม ปลูก 4 ต้น/กระถาง วางแผนการทดลองแบบ CRD ประกอบด้วย 3 ซ้ำ ๆละ 5 กระถาง โดยมีพันธุ์พ่อ 2 พันธุ์เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ดำเนินการทดลองที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฤดูปลูกข้าวปี พ.ศ. 2554 การวิเคราะห์ปฏิกิริยาทางพันธุกรรมโดยาจำแนกองค์ประกอบทางพันธุกรรม ความดีเด่นของลูกผสมของลักษณะต่าง ๆ โดยคำนวณเปอร์เซ็นต์ความดีเด่นเป็นค่าแตกต่าง ระหว่างค่าเฉลี่ยของ F1 (F mean) กับค่ากึ่งกลางระหว่างพ่อกับแม่ (mid-parent value) ผลการวิจัยพบว่าลักษณะความยาวลำต้นและน้ำหนัก 1,000 เมล็ด มีการแสดงออกของยีนแบบบวกสะสม (additive gene effect) จำนวนหน่อและจำนวนรวง/กอแสดงออกของยีนแบบข่มทางลง (negative dominance) เปอร์เซ็นต์เมล็ดดีแสดงของยีน แบบข่มเกินกว่าพ่อแม่ค่าต่ำ (overdominsce for lower parent effect) ในขณะที่ลักษณะปริมาณอะไมโลสในเมล็ด และปริมาณแอนโธไซยานินในรำละเอียด แสดงออกของยีนเป็นทั้งแบบบวกสะสม และแบบข่มเกินกว่าพ่อแม่สูง (overdomince for higher parent gene effect) ผลงานวิจัยนี้น่าจะเพียงพอสำหรับการพิจารณา เพื่อวางแผนการคัดเลือกเพื่อปรับปรุงพันธุ์ลักษณะดังกล่าวของข้าวต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการเกษตร (Thai Agricultural Research Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร