การประเมินสมรรถนะการผสมของข้าวโพดข้าวเหนียวผสมตัวเองชั่วที่ 3
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2013.13คำสำคัญ:
สมรรถนะการผสม, ข้าวโพดข้าวเหนียว, สายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 3บทคัดย่อ
การประเมินสมรรถนะการผสมข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์แท้ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาพันธุ์พืชให้มีศักยภาพเพื่อการพัฒนาพันธุ์ลูกผสม โดยการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถภาพการผสมของข้าวโพดข้าวเหนียวผสมตัวเองชั่วที่ 3 ทุกลักษณะสำคัญทางการเกษตรเพื่อสร้างพันธุ์ลูกผสมที่ดีและมีประสิทธิภาพใน จ.พะเยา จากสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 3 จำนวน 7 สายพันธุ์ (UPW 1,2,3,4,5,6 และ 7) ผสมแบบพบกันหมดตามวิธีของ Griffing’s method IV ได้ลูกผสมจำนวน 21 คู่ผสม โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ที่แปลงปฏิบัติการคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา ในฤดูแล้ง ปี พ.ศ. 2555 พบว่าสายพันธุ์ UPW5 ให้ค่าสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปทั้งผลผลิตทั้งเปลือกและผลผลิตปอกเปลือกสูงที่สุดขณะที่ลักษณะทางการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ น้ำหนักฝักมาตรฐาน เปอร์เซ็นต์ shelling เปอร์เซ็นต์การตัดผ่าน เปอร์เซ็นต์อะมิโลแพคติน ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด ปริมาณน้ำตาล non-reducing ลักษณะต้นและลักษณะฝัก โดยสายพันธุ์ที่ให้ค่าสมรรถนะการรวมตัวทั่วไปดีที่สุดคือ UPW7, UPW7, UPW5, UPW6, UPW1, UPW1, UPW7, และ UPW6 ตามลำดับ ขณะที่ลักษณะการรวมตัวเฉพาะคู่ผสมที่ให้ค่าผลผลิตทั้งเปลือกสูงที่สุดคือ UPW2 x UPW4 เท่ากับ 2,127 กก./ไร่ ผลผลิตปอกเปลือกคือ UPW5 x UPW6 เท่ากับ 1,523 กก./ไร่สำหรับลักษณะคุณภาพในการบริโภคประกอบด้วย ความชอบความนุ่มและความหนาของ pericarp พบว่าคู่ผสม UPW1 x UPW5, UPW4 x UPW7 และ UPW1 x UPW5 (4.1, 4.3 and 1.5) มีค่าดีที่สุดเท่ากับ 4.1 4.3 และ 1.5 ตามลำดับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการเกษตร (Thai Agricultural Research Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร