ผลของการขาดน้ำต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและปริมาณน้ำมันในเมล็ดทานตะวัน
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2010.6คำสำคัญ:
ทานตะวัน, การขาดน้ำ, การเจริญเติบโต, ปริมาณน้ำมัน, ปริมาณกรดไขมันบทคัดย่อ
ศึกษาผลของการขาดน้ำต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตและปริมาณน้ำมันในเมล็ดทานตะวัน โดยวางแผนการทดลองแบบ Stripplot design in RCB ประกอบด้วย 3ซ้ำ มี 2 ปัจจัยที่ศึกษา คือปัจจัยที่ 1 (vertical plot) เป็นเมล็ดพันธุ์ทานตะวัน 2 พันธุ์คือ พันธุ์แปซิฟิค 33 และแปซิฟิค 55 ส่วนปัจจัยที่ 2 (horizontal plot) เป็นวิธีการให้น้ำ 3 วิธีคือ ให้น้ำปกติ (T) โดยให้น้ำเท่ากันทุกแปลงจนถึงระดับความชื้นสนามตลอดฤดูปลูก ให้ขาดน้ำในระยะกำเนิดตุ่มดอก (T) โดยทำการงดให้น้ำเมื่อพืชเริ่มให้กำเนิดตุ่มดอก จนกระทั้งพืชแสดงอาการเหี่ยว หลังจากนั้นจึงเริ่มให้น้ำใหม่ และให้ขาดน้ำในระยะดอกบาน (T) โดยทำการงดให้น้ำเมื่อดอกเริ่มบานจนกระทั้งพืชแสดงอาการเหี่ยวจึงเริ่มให้น้ำใหม่อีกครั้ง ดำการทดลองที่แปลงทดลองภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2550 - มีนาคม พ.ศ. 2551 พบว่าการขาดน้ำส่งผลให้ขนาดของลำต้นทานตะวันลดลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการขาดน้ำในระยะดอกบาน (T) ส่งผลให้ขนาดของลำต้นลดลงมากที่สุด ในขณะที่ความสูงของต้น ขนาดจานดอก การสะสมน้ำหนักแห้งและผลผลิต ไม่ได้รับผลกระทบจากการขาดน้ำนอกจากนี้ยังพบว่าการขาดน้ำทั้งในระยะกำเนิดตุ่มดอกและระยะดอกบาน ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำมันในเมล็ด ทานตะวัน แต่มีผลให้ปริมาณกรดไขมันเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายพันธุ์แปซิฟิค 33 ซึ่งมีปริมาณกรดไขมัน oleic เพิ่มขึ้นเมื่อได้รับการขาดน้ำ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการเกษตร (Thai Agricultural Research Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร