ความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์สบู่ดำในเอเชียจากการประเมินโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลแบบ RAPD
DOI:
https://doi.org/10.14456/thaidoa-agres.2008.4คำสำคัญ:
Jatropha curcas, สบู่ดำ, ความหลากหลายทางพันธุกรรม, เครื่องหมายดีเอ็นเอ RAPDบทคัดย่อ
สบู่ดำเป็นพืชหนึ่งที่มีศักยภาพเป็นพลังงานทดแทนทั้งในแง่น้ำมันและเชื้อเพลิง แต่ยังขาดพันธุที่จะนำมาใช้ส่งเสริมเพื่อผลิตเป็นการค้า จึงต้องมีการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของสบู่ดำ เพื่อใช้สร้างความแปรปรวนทางพันธุกรรมและพัฒนาหาพันธุ์ใหม่ ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธี Random Amplified Polymorphic DNA (RAPD) จำนวน 37 ไพรเมอร์ พบว่ามี 8 ไพรเมอร์ที่เกิดแถวดีเอ็นเอที่แตกต่างในตัวอย่างสบู่ดำ 34 ตัวอย่างจาก 4 ประเทศ คือ จีน อินเดีย เวียดนามและไทย ทั้งจากต้นที่ปลูกจากเมล็ดและท่อนพันธุ์ โดยจำนวนแถบดีเอ็นเอที่พบความแตกต่างมีจำนวน 1-4 อัลลีล/ไพรเมอร์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของแถบดีเอ็นเอต่อไพรเมอร์ 1.75 และเมื่อแบ่งกลุ่มพันธุ์โดยใช้ค่า Dice's similarity coefficient 0.45 สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มไทยกับอินเดีย และกลุ่มจีนกับเวียดนาม ผลจากการจัดกลุ่มดังกล่าวได้ค่า cophenetic correlation (r) 0.92 แสดงว่าจัดกลุ่มได้ในเกณฑ์ดี ผลจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการวางแผนคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำในอนาคต
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 วารสารวิชาการเกษตร (Thai Agricultural Research Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิชาการเกษตร