การจำลองสถานการณ์เพื่อวางแผนในการเติมเต็ม ของหน่วยจ่ายผ้ากลาง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • นิติพัฒน์ เหล่ามงคลชัยศรี ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วนัฐฌพงษ์ คงแก้ว ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • นิกร ศิริวงศ์ไพศาล ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การขนส่ง, การจำลองสถานการณ์, สินค้าคงคลัง, การเติมเต็ม, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ประยุกต์รูปแบบการเติมเต็มเครื่องแต่งกายและสิ่งทอระหว่างการเติมเต็มแบบต่อเนื่องและการเติมเต็มแบบตามระยะเวลาที่กำหนดของหน่วยจ่ายผ้ากลางภายในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ด้วยการจำลองสถานการณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการจัดเก็บเครื่องแต่งกายและสิ่งทอในคลังของหอผู้ป่วยและลดจำนวนเที่ยวในการเติมเต็มเครื่องแต่งกายและสิ่งทอ ของหน่วยจ่ายผ้ากลาง ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอรูปแบบการเติมเต็มเครื่องแต่งกายและสิ่งทอจำนวน    2 แนวทาง และมีเงื่อนไขการให้บริการที่ระดับการให้บริการร้อยละ 99 โดยแนวทางที่ 1 ได้แบ่งกลุ่มลำดับความสำคัญแบบ ABC และมีเพียงกลุ่ม A ที่ใช้รูปแบบการเติมเต็มแบบต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มลำดับความสำคัญอื่น ๆ (B และ C) จะใช้รูปแบบการเติมเต็มแบบตามระยะเวลาที่กำหนด สำหรับแนวทางที่ 2 ทุกกลุ่มลำดับความสำคัญจะใช้รูปแบบการเติมเต็มแบบตามระยะเวลาที่กำหนด จากผลการทดลองด้วยวิธีการจำลองสถานการณ์ พบว่า แนวทางที่ 2 เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ได้ โดยมีปริมาณการจัดเก็บเครื่องแต่งกายและสิ่งทอของทุกประเภททั้งหมด 1,398 ผืนต่อวัน ลดลงจากปริมาณการจัดเก็บในสภาพปัจจุบัน 562 ผืนต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 28.67 และมีจำนวนเที่ยวในการเติมเต็ม 86 เที่ยวต่อเดือน ลดลงจากจำนวนเที่ยวในสภาพปัจจุบัน 34 เที่ยวต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 28.33

References

Gupta, N., & Krishnappa, P., (2016). Inventory Analysis in a Private Dental Hospital in Bangalore, India. Journal of Clinical and Diagnostic Resrarch, IC10 - IC12.

Jaitwijitra, C., (2004). Operations Management. Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University. (in Thai)

Jurado, I., Maestre, J.M., Velarde, P., Martinezc, C. O., Fernández, I., Tejera, B. I., and del Prado, J.R. (2016). Stock management in hospital pharmacy using chance-constrained model predictive control. Computers in Biology and Medicine, 246 - 255.

Kritchanchai, D., Muangchoo, S., Imdacha, P., Kittisuwan, P. (2016). Healthcare Logistics. Healthcare Supply Chain Excellence Centre. Mahidol University. (in Thai)

Lalitaporn, P., (2006). Production Planning and Control. Bangkok: Technology Promotion Association (Thailand-Japan). (in Thai)

Maneeniam, U., (2009). Importance of Logistics Management. Retrieved April 10, 2016, from http://logisticscorner.com/index.php (in Thai)

Suntivong, C., (2003). Operations Management. Bangkok: Prachumchang PrintingHouse. (in Thai)

Supithak, W., and Puliwekhin, S., (2017). Determination of Joint Inventory Replenishment Policy using Simulation Model for the Retail System having Multiple Perishable Products and Last-in First-out Customer Behavior. Thai Journal of Operations Reseach, July - December 2017, 22-32 (in Thai)

Taksana, T., (2013). Inventory cost reduction using difference criteria ABC analysis. Chiang Mai University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-25