สถานการณ์ฝนและน้ำประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 514,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 321 ล้านไร่ ประกอบด้วย 25 ลุ่มน้้าหลัก สภาพพื้นที่ตั้งอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ท้าให้เกิดฤดูหนาวและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ท้าให้เกิดฤดูฝน โดยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดปกคลุมประเทศไทยประมาณช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ปริมาณฝนรายปีทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 1,467 มิลลิเมตร โดยช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกประมาณ 1,188 มิลลิเมตร และช่วงฤดูแล้งประมาณ 279 มิลลิเมตร ในรอบ 36 ปี ที่ผ่านมา (2524-2559) ประเทศไทยมีฝนตกทั้งปีน้อยกว่าปกติอยู่ทั้งหมด 13 ปี ได้แก่ ปี 2525 2530 2532 2534 2535 2536 2540 2541 2546 2547 2548 2557 และปี 2558 ส่วนปีที่มีฝนตกมากกว่าปกติ มี 10 ปี ได้แก่ ปี 2531 2537 2539 2542 2543 2544 2549 2551 2554 และปี 2556 และปีที่ปริมาณฝนค่อนข้างปกติทั้งหมด 13 ปี ได้แก่ ปี 2524 2526 2527 2528 2529 2533 2538 2545 2550 2552 2553 2555 และปี 2559 และในช่วงประมาณ 10 ปีหลังมานี้ สถานการณ์ฝนตกมากกว่าปกติและฝนตกน้อยกว่าปกติ เกิดสลับกันถี่มากขึ้น และมีความแปรปรวนของปริมาณฝนค่อนข้างสูง โดยปี 2552 และปี 2553 ประเทศไทยประสบกับปัญหาภัยแล้งรุนแรง มีฝนตกน้อยกว่าปกติ 4.33% และ 2.14% ตามล้าดับ แต่ถัดมาในปี 2554 กลับมีฝนตกมากกว่าปกติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมากกว่าถึง 24.36% จึงท้าให้เกิดสถานการณ์น้้าท่วมรุนแรงในหลายพื้นที่ของประเทศ แต่หลังจากนั้นเพียง 2 ปี กลับเกิดสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรง 2 ปีต่อเนื่องในปี 2557 และปี 2558 โดยเฉพาะปี 2558 ที่ฝนตกน้อยกว่าปกติ 14.73% ซึ่งน้อยเป็นประวัติการณ์
Article Details
The content and information in articles published in the Journal of Vocational Education in Agriculture are the opinions and responsibility of the article's author. The journal editors do not need to agree or share any responsibility.
Articles, information, content, etc. that are published in the Journal of Vocational Education in Agriculture are copyrighted by the Journal of Vocational Education in Agriculture. If any person or organization wishes to publish all or any part of it or to do anything. Only prior written permission from the Journal of Vocational Education in Agriculture is required.