ประสิทธิภาพของสาหร่ายผมนาง Gracilaria fisheri ในการลดปริมาณสารประกอบไนโตรเจนและออร์โธฟอสเฟตในน้ำเพื่อบำบัดน้ำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสาหร่ายผมนางในการลดปริมาณแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรทและออร์โธฟอสเฟตในน้ำสังเคราะห์ ประกอบด้วย 4 การทดลอง ได้แก่ 1) ผลของสาหร่ายผมนางในการลดปริมาณแอมโมเนียในน้ำ 2) ผลของสาหร่ายผมนางในการลดปริมาณไนไตรท์ในน้ำ 3) ผลของสาหร่ายผมนางในการลดปริมาณไนเตรทในน้ำ และ 4) ผลของสาหร่ายผมนางในการลดปริมาณออร์โธฟอสเฟตในน้ำ ในแต่ละการทดลอง แบ่งเป็น 4 ชุดการทดลอง ที่มีความแตกต่างของปริมาณสาหร่ายผมนาง ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ ดังนี้ 0 กรัมต่อลิตร (T1 หรือ ชุดควบคุม), 1กรัมต่อลิตร (T2), 5 กรัมต่อลิตร (T3), 10 กรัมต่อลิตร (T4) ปริมาตรน้ำในการทดลอง 5 ลิตรต่อถังทดลอง เป็นระยะเวลา 28 วัน หรือจนกว่า มีปริมาณสารประกอบไนโตรเจน และออร์โธฟอสเฟต ลดลงเท่ากับ 0 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการหาเปอร์เซนต์ของสาหร่ายผมนางที่เพิ่มขึ้น
ผลการทดลองที่ 1 พบว่า สาหร่ายผมนาง 10 กรัมต่อลิตร สามารถลดปริมาณแอมโมเนียในน้ำ ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในระยะเวลา 4 วัน การทดลองที่ 2 พบว่า สาหร่ายผมนาง 10 กรัมต่อลิตร สามารถลดปริมาณไนไตรท์ในน้ำ ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 7 วัน แต่ไม่แตกต่างจากชุดการทดลอง T3 (P>0.05) การทดลองที่ 3 พบว่า สาหร่ายผมนาง 10 กรัมต่อลิตร สามารถลดปริมาณของไนเตรทในน้ำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในระยะเวลา 13 วัน มีประสิทธิภาพสูงกว่าทุกชุดการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การทดลองที่ 4 พบว่า ปริมาณออร์โธฟอสเฟตในทุกชุดการทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) น้ำหนักสาหร่ายผมนางที่เพิ่มขึ้นในแต่ละการทดลอง ในชุดการทดลอง T4 เท่ากับ 12.7±1.2, 11.3±1.2, 21.3±4.2, และ 31.3±7.6 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ
จากผลการทดลองสรุปว่าสามารถใช้สาหร่ายผมนาง 5 กรัมต่อลิตร ในการลดปริมาณแอมโมเนียและไนไตรท์ในน้ำ และใช้สาหร่ายผมนาง 10 กรัมต่อลิตรในการลดปริมาณไนเตรทในน้ำได้
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน Journal of Vocational Education in Agriculture ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน Journal of Vocational Education in Agriculture ถือเป็นลิขสิทธิ์ของJournal of Vocational Education in Agriculture หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Vocational Education in Agriculture ก่อนเท่านั้น
References
กมลวรรณ ศุภวิญญู ยุทธนา สว่างอารมย์ ณิชาพล แก้วชฎา. (2557). การเสริมโพแทสเซียม แมกนีเซียม ในระบบการอนุบาลกุ้งก้ามกรามที่ลดการปล่อยของเสียด้วยน้ำหมุนเวียน (รายงานผลการวิจัย). ชุมพร: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
กมลวรรณ ศุภวิญญู, ส่งศรี มหาสวัสดิ์, สมหวัง พิมลบุตร, และสุนทราภรณ์ ลิ่มสกุล. (2549). ปริมาณแร่ธาตุบางชนิดในกุ้งก้ามกรามวัยอ่อนที่อนุบาลด้วยระบบกรองน้ำหมุนเวียน. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44, กรุงเทพฯ, 135-143.
ชีวิน อรรถสาสน์. (2558) การใช้สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Oscillatoria sp.) ในการบำบัดน้ำทิ้งจากการเลี้ยงปลานิลในระบบน้ำหมุนเวียน.กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ชูสินธ์ ชนะสิทธิ์, สมหมาย เชี่ยววารีสัจจะ, และอุดม พืชน์ไพบูลย์. (2550). การเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อระยะวัยรุ่นโดยใช้ระบบน้ำหมุนเวียน. ใน สัมมนาวิชาการด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, กรุงเทพฯ, 10-13.
ธวัช ศรีวีระชัย. (2548) การเลี้ยงสาหร่ายเขากวาง Gracilaria edulis (Gmelin) Silva และ สาหร่ายมงกุฎหนาม Acanthophora spicifera (Vahl) Borgesen ในบ่อบำบัดน้ำทิ้ง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 17/2548 กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมง สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง.
บุญส่ง สิริกุล และวิวรรธน์ สิงห์ทวีศักดิ์. (2531). การเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลสีแดง Polycavernosa fastigiata และ Gracilaria tenuistipitata ในบ่อเลี้ยงกุ้ง ใน การสัมมนาวิชาการประจำปี 2531 (น.41). กรุงเทพฯ: กรมประมง.
ปวีณา ทวีกิจการ. (2546). การกำจัดสารอินทรีย์และโลหะหนักจากน้ำเสียโดยใช้สาหร่ายขนาดเล็ก (Oscillatoria sp., Microcystis sp.). (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
มั่นสิน ตัณฑุลเวศน์ และไพพรรณ พรประภา. (2540). การจัดการคุณภาพน้ำและการบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลา และสัตว์น้ำอื่นๆ : เล่ม 1 การจัดการคุณภาพน้ำ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิวรรธน์ สิงห์ทวีศักดิ์ และทรงสิทธิ์ ลิ้มสกุล. (2543). การเลี้ยงสาหร่ายผมนาง Gracilaria fisheri (Xia&Abbott) Abott, Zhang&Xia, ร่วมกับปลากะพงขาว Lates calcarifer Bloch, ในบ่อดิน. เอกสารวิชาการฉบับที่ 14/2543. ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจันทบุรี กิงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง. 15 น.
ศิราภรณ์ ชื่นบาล. (2553). การบำบัดน้ำทิ้งจากฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยพืชน้ำและสาหร่าย (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
อัจฉรียา แก้วมีศรี. (2543). การบำบัดน้ำเสียจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ, Penaeus monodon Fabricius, โดยใช้สาหร่ายผมนาง Gracilaria fisheri (Xia&abbott) Abott, Zhang&Xia. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (เทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Hu M. H. Ao Y. S. Yang X. E. and Li T. Q. (2008). Treating eutrophic water for nutrient reduction using an aquatic macrophyte (Ipomoea quatic Forsskal) in a deep flow technique system. Agricultural Water Management, 95 (5), 607-615.
Friedlander, M., & van Rijn, J. (2018). Ammonia and CO2 enrichment of a Gracilaria cultivation pond through biofiltration of organic waste. Aquaculture, 482, 45-48.
Tanner, C. C., Sukias, J.P.S., Upsdell, M.P., (1999). Substratum phosphorus accumulation during maturation of gravel-bed constructed wetlands. Water Science Technology, 40, 147-154.
Wongkiew, S., Hu, Z., Chandran, K., Lee, J. W., and Khanal, S. K. (2017). Nitrogen transformations in aquaponic systems: A review. Aquacultural Engineering, 76, 9-19.