ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่

Main Article Content

สุรเดช สดคมขำ
ภัคพงศ์ ปวงสุข
ปิยะนารถ จันทร์เล็ก

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่กับเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เป็นต้นแบบ จำนวน 63 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย อายุระหว่าง 40-49 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อปี 100,000-200,000 บาท และมีประสบการณ์การทำเกษตร 1-10 ปี มีการถือครองที่ดิน (โฉนดที่ดิน) จำนวน 1-40 ไร่ และใช้แหล่งเงินทุนของตนเองทำเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กร (วิสาหกิจชุมชน) รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งบุคคลระดับปานกลาง ภาพรวมการรับข้อมูลแบบสื่อกลุ่มจากแหล่งข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศระดับมากผ่านช่องทางสมาร์ทโฟน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆ กับความต้องการพัฒนาไปสู่ความสำเร็จของเกษตรกรรุ่นใหม่ การเป็นสมาชิกกลุ่ม/องค์กร โดยมีความสัมพันธ์ที่ผันแปรตามกันกับการมีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การมีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกรในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในส่วนของเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์แปรผันตามกันกับการมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านการบริหารจัดการผลผลิตและการตลาด การมีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค และการมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการมีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  

Article Details

How to Cite
สดคมขำ ส., ปวงสุข ภ. ., & จันทร์เล็ก ป. . (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่. Journal of Vocational Education in Agriculture, 8(1), 71–86. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/JVIA/article/view/259353
บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2016). Young Smart Farmer: The future and direction of the Thai agricultural sector. Bangkok: National Office of Buddhism Press.

Chantajam, A. (2020). On the Move: A New Generation’s Future Outside the Capital. PSDS Journal of Development Studies. 3(2), 58-79. (in Thai)

Phonsukkarn, S. & Jintanasirinurak, S. (2021). Factors for Success in Promoting and Developing Young Farmers. In The 14th National & International Conference: Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2021 (p. 588-596). 18 August, 2021, Babgkok, Thailand. (in Thai)

Audnoon, P., et al. (2020). Causal Factors Affecting the Development of Community Product Standards for the New Generation of Agricultural Network in 7 Upper Southern Provinces. Journal of Rattana Bundit University, 15(1), 86–103. (in Thai)

Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2020). Young Smart Farmer the Future and Direction of the Thai Agricultural Sector. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand. (in Thai)

Srisa–ard, B. (2017). Introduction to Research. 10th ed. Bangkok: Suweerivasarn Company Limited. (in Thai)

Pongpan, T. & Chatraphorn, S. (2010). Research Design. 6th ed. Bangkok: Kasetsart University Press. (in Thai)

Kotler, P. (2000). Marketing Management. New Jersey: Prentice-Hall.

Marklai, N. (2014). Guidelines for Young Smart Farmer Development in Rayong Province. (Master thesis, Sukhothai Thammathirat Open University). (in Thai)

Iamaporn, P. (2014). Guidelines for Developing New Generation of Farmers under the Responsibility of the Office of Agricultural Extension and Development, Division 6 in Chiang Mai Province. (Master thesis, Sukhothai Thammathirat Open University). (in Thai)

Tassamalee, P. & Thunmathiwat, D. P. (2019). Satisfaction of Young Smart Farmer towards the New Agricultural Entrepreneurs Training Course in Bangkok. King Mongkut's Agricultural Journal, 37(4), 627-634. (in Thai)

Suthamdee, C., et al. (2019). Approaches for Sustainable Capacity Enhancement for Young Farmersin Na Si Nuan Village, Mueang District, Chaiyaphum Province. Research and Development Institute Journal of Chaiyaphum Rajabhat University, 1(3), 33-45. (in Thai)

Sohon, M., et al. (2020). Guidelines for Extension and Development the Potential of Young Smart Farmers in Ranong Province. In The 10th STOU National Research Conference (p. 1583-1592). 27 November, 2020, Babgkok, Thailand. (in Thai)

Sunthonphan, S. (2009). Farmer’s Adoption of Organic Production Technology System of Mango Orchards in Phrao District, Chiang Mai. (Master thesis, Maejo University). (in Thai)

Vaittan, T. et al. (2021). Adoption of Organic Agriculture of Mango Farmers, San Sai District, Chiang Mai Province. Journal of Agricultural Production, 3(3), 81-92. (in Thai)

Nantasarn, M. (2021). The Efficiency Measurement of Farm Productive of Young Farmers Maha Sarakham Province. Prawarun Agricultural Journal, 18(1), 95-103. (in Thai)