อิทธิพลของสภาพแวดล้อมภายในต่อศักยภาพการทำงาน และความพึงพอใจของคนไทยในอาคารสำนักงาน
คำสำคัญ:
อาคารสำนักงาน, แสงประดิษฐ, ศักยภาพการมองเห็น, สุขภาพบทคัดย่อ
ในปัจจุบันการใช้แสงประดิษฐ์ในอาคารสำนักงานก่อให้เกิดประโยชน์ทางด้านการมองเห็นและช่วยส่งเสริมศักยภาพในการทำงาน อาคารสำนักงานในประเทศไทยส่วนใหญ่นั้นหากมีการใช้แสงประดิษฐ์ที่มีปริมาณที่ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน ทำให้เกิดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อศักยภาพของการทำงานและการมองเห็น การคำนึงถึงคุณลักษณะทางสถาปัตยกรรม การจัดวางองค์ประกอบในส่วนต่าง ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของพนักงาน วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือเพื่อศึกษาผลกระทบจากรูปแบบของแสงประดิษฐ์ต่อศักยภาพในการมองเห็นและความพึงพอใจของคนไทยในอาคารสำนักงาน โดยได้ทำการศึกษาอิทธิพลของปัจจัย 9 ปัจจัย ได้แก่ รูปร่างห้อง สีของผนังผิวห้อง การจัดเรียงเฟอร์นิเจอร์ เทคนิคแสงธรรมชาติ ชนิดโคมไฟ ชนิดหลอดไฟ สีของแสง ดัชนีความถูกต้องสีของแสง (CRI) และรูปแบบวิวภายนอก การศึกษาได้มีการสำรวจอาคารสำนักงานที่เป็นกรณีศึกษาจำนวน 7 แห่ง โดยมีการให้พนักงานในสำนักงานตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้สึกทางด้านศักยภาพในการมองเห็นและความพึงพอใจในการทำงาน เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวแล้วนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมารวบรวมเพื่อหาความสัมพันธ์ในแต่ละปัจจัย ผลการศึกษาได้มีการสรุปคุณลักษณะของสภาพแสงสว่างที่เหมาะสมต่อศักยภาพในการมองเห็นและความพึงพอใจในอาคารสำนักงานสำหรับคนไทย
References
Berlyne, D. E. (1971). Aesthetics and Psychobiology. New York: Appleton-Century-Crofts.
Bechtel, R. B., Marans, R. W., & Michelson, W. (Eds.). (1987). Methods in environmental and behavioral research. New York, NY, US: Van Nostrand Reinhold Co.
Boyce, P.R., Eklund, N., Mangum, S., Saalfield, C. and Tang, L. (1995) Minimum acceptable transmittance of glazing, Lighting Res.Technol., 27, 145-152.
Davis, R.G. and A. Garza. 2002. Task Lighting for the Elderly. Journal of the Illuminating Engineering Society 31 (1), 20-32.
Fabio D., Palazzeschi A., L., and Bucci O. (2017). In an unpredictable and changing environment: intrapreneurial self-capital as a key resource for life satisfaction and flourishing. Front. Psychol. 8:1819. DOI: 10.3389/fpsyg.2017.01819
Fotios, S. and C. Cheal. (2007). Lighting for Subsidiary Streets: Investigation of Lamps of Different SPD: Part 2-Brightness. Lighting Research & Technology 39 (3), 233-252.
Fotios. S., C. Cheal. And PR. Boyce. (2005). Light Source Spectrum, Brightness Perception and Visual Performance in Pedestrian Environment: A Review Lighting Research & Technology. 37,4.
IESNA. (2011). The IES Lighting Handbook (10th Edition): Reference and Application. New York: IESNA.
Marquardt, C. J. G., Veitch, J. A., & Charles, K. E. (2002). Environmental Satisfaction with OpenPlan Office Furniture Design and Layout : National Research Council Canada.
Nenonen et al. (2012). Designing Business Models for Value Co-Creation. Review of Marketing Research 9:51-78 · June 2012. DOI: 10.1108/S1548-6435(2012)0000009007
Ruan Saiyod and Aungkana Saiyod. (2540). Statistics in Research. Bangkok: Suweeriyasan. (in Thai) Illuminating Engineering Association Thailand. (2546). TIEA-GD003. The recommended of illumination of the building. Bangkok (in Thai)
Veitch, Charles, Farley and Newsham. (2007). A model of satisfaction with open-plan office condi-tions: COPE field findings. Journal of Environmental Psychology, 27(3), 177-189. https://doi.org/10.1016/j.jenvp.2007.04.002
Yamagishi, M., Kawasaki, F., Yamaba, K. and Nagata, M. (2006). Legibility under reading lights using white LED. Gerontechnology, 5(4), 31-236.
Veitch, J. A., Charles, K. E., Farley,K. M., & Newsham, G. R. (2007). A model of satisfaction with open-plan oce condi-tions: COPE eld indings. Journal of Environmental Psycholo-gy, 27(3), 177-189.
Zhe Kong, Michael Utzinger, Kara Freihoefer and Troy Steege. (2018). The impact of interior design on visual discomfort reduction: A field study integrating lighting environments with POE survey. Building and Environment 138 · April 2018.
DOI: 10.1016/j.buildenv.2018.04.025
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
โปรดกรอกเอกสารและลงนาม "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ก่อนการตีพิมพ์