การพัฒนาชุมชนแบบองค์รวมโดยการใช้พื้นที่สาธารณะ และการใช้ทรัพยากรอาคารอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • พัฑรา สืบศิริ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • มณฑล จันทร์แจ่มใส สาขาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร 10220
  • อัธยานันท์ จิตรโรจนรักษ์ สาขาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร 10220
  • บัญชา บูรณสิงห์ สาขาสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร 10220
  • ศศิธร คนทน สาขาเทคโนโลยีเซรามิกส์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร 10220
  • อิสรี ศรีคุณ สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร 10220
  • จุฬาลักษณ์ ชาญกูล สาขาเทคโนโลยีอาคาร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรุงเทพมหานคร 10220

คำสำคัญ:

การพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม, พื้นที่สาธารณะ, ทรัพยากรอาคาร

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม โดยการใช้พื้นที่สาธารณะ และการใช้ทรัพยากรอาคารอย่างยั่งยืน เป็นแผนงานวิจัยประกอบด้วย 4 โครงการวิจัย คือ โครงการที่ 1 การออกแบบการใช้พื้นที่สาธารณะอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม โครงการที่ 2 การออกแบบอุปกรณ์อาคาร โดยใช้เทคโนโลยีเซรามิกส์ เพื่อพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม โครงการที่ 3 รูปแบบการจัดการพลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืน และ โครงการที่ 4 การออกแบบรูปแบบการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ทั้ง 4 โครงการนี้ จัดทำเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวมโดยเลือกศึกษาอาคารนำร่องของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแบบแผนกระบวนการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อศึกษารูปแบบความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบทบาทของชุมชนผู้มีส่วนร่วม 3) เพื่อศึกษาแบบแผนแนวปฏิบัติ การออกแบบพื้นที่สาธารณะ การออกแบบอุปกรณ์ประกอบอาคารและ การจัดการการทรัพยากรอาคารเพื่อความยั่งยืนขององค์กร ผลการวิจัยพบว่า แบบแผนกระบวนการพัฒนาชุมชนแบบองค์รวมมีความสำคัญที่ต้องบูรณาการศาสตร์ระหว่าง สถาปัตยกรรม เทคโนโลยีเซรามิกส์ เทคโนโลยีไฟฟ้า และเทคโนโลยีอาคาร สามารถบูรณาการออกแบบการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรูปแบบความร่วมมือที่เกี่ยวข้องระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ในฐานะชุมชนเจ้าของพื้นที่เป็นสิ่งจำเป็น

References

Forbes, S. (1996). Values in Holistic Education, Third Annual Conference on Education, Spirituality and the Whole child. Roehampton Institute.

Miller, R. (2000). Making Connections to the world: Some Thoughts on Holistic Curriculum. (Brandon, VT: Foundation for Educational Renewal, 2000)

Shepherd, A. and L. Ortolano. (1997). Environment Impact Assessment Review. Organizational Change and Environmental Impact assessment at the Electricity Generating Authority of Thailand : 1972-1988. 17(5), 329-356.

Suebsiri, P, et al. (2017) Environmental Management Project to become “Green University”. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Science and Technology). 12(1), (103-119). (in Thai)

WCED. (1987). World Commission on Environment and Development. Retrieved December 15, 2017, from https://www.public.wsu.edu/-susdev/WCED87.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)