การจัดการน้ำทิ้งจากโรงงานน้ำมันปาล์มด้วยโอโซนบำบัดก่อนผลิตก๊าซชีวภาพ
คำสำคัญ:
น้ำทิ้งจากโรงงานน้ำมันปาล์ม, กากตะกอนน้ำมันปาล์ม, โอโซนปรับสภาพ, ก๊าซชีวภาพ, ก๊าซมีเทนบทคัดย่อ
น้ำทิ้งส่วนใหญ่จากโรงงานน้ำมันปาล์มใช้ในการผลิตก๊าซชีวภาพ แต่ปริมาณก๊าซที่ได้รับไม่สูงมากนักเนื่องจากมีกากตะกอนปาล์มในน้ำทิ้งอยู่ปริมาณสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้โอโซนบำบัดน้ำทิ้งโรงงานน้ำมันปาล์มก่อนนำไปผลิตก๊าซชีวภาพ น้ำทิ้งที่ใช้ในการศึกษาเป็นน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มซึ่งมีกากตะกอนปาล์มอยู่ 70-80% โอโซนจากเครื่องผลิตโอโซนที่ 1, 2, 3 และ 4 กรัม/ชั่วโมง ใช้ปรับสภาพกากตะกอนในน้ำทิ้งที่ระยะเวลา 0, 10, 20, 30, 40, 50 และ 60 นาที พบว่าสภาวะที่เหมาะสม คือ ความเข้มข้นโอโซน 2 กรัม/ชั่วโมง นาน 30 นาที ที่สภาวะนี้สามารถเพิ่มค่า BOD จาก 49.98±0.90 เป็น 69.60±1.02 กรัม/ลิตร และน้ำตาลรีดิวซ์หรือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว จาก 4.41±0.09 เป็น 5.48±0.03 กรัม/ลิตร ค่า TS ลดลงจาก 74.20±1.96 เป็น 52.05±0.10 และ COD ลดลงจาก 90.40±0.80 เป็น 51.20±0.07 กรัม/ลิตร การผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำทิ้งกากตะกอนที่ผ่านการปรับสภาพด้วยโอโซนให้ปริมาณก๊าซชีวภาพมากกว่าน้ำทิ้งกากตะกอนที่ไม่ผ่านการปรับสภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำทิ้งที่มีการปรับสภาพมีคุณภาพดีกว่าที่ไม่มีการปรับสภาพจากการที่มีก๊าซมีเทนในก๊าซชีวภาพสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
References
APHA, AWWA and WEF. (1998). Standard methods for the examination of water and wastewater. (20th). Washington: APHA.
APHA, AWWA and WEF. (2017). Standard methods for the examination of water and wastewater. (23rd). Washington: APHA.
Chulapedia. (2011). Biogas. Retrieved from http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php?title=%E 0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E [2011, 27 Mar.]
ERDI-CMU. (2021). Palm oil waste to generate electricity to reduce global warming. Retrieved from https://erdi.cmu.ac.th/?p=1606 [2021, 1 Nov.]
Gupta, S., Sharma, A., Chadra, T.S., Malik, S., Waindeskar, V., & Mudliar, S. (2015). Effect of ozone pretreatment on biodegradability enhancement and biogas generation potential from biomethanated distillery effluent. Ozone: Science & Engineering: The Journal of the International Ozone Association, 37(5), 411-419.
Lin, S.H., & Yeh, K.L. (1993). Looking to treat wastewater by ozone. Chemical Engineering, 100(5), 112-116.
Miller, G.L. (1959). Use of dinitrosalicylic acid reagent for determination of reducing sugar. Retrieved from https://doi.org/10.1021/ac60147a030 [2011, 27 Mar.]
Wisessombat, S. (2014). Ozone. Retrieved from https://medtech.psu.ac.th/Files_Ariticle/ 20140721xU9evoENlycr.pdf [2020, 17 Jul.]
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
โปรดกรอกเอกสารและลงนาม "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ก่อนการตีพิมพ์