รูปแบบการจัดการที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การจัดการที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อม , สุขภาวะ , ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ใช้รูปแบบงานวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) มี 2 ระยะ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ และ (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัยต่อสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุ ประชากรคือผู้สูงอายุซึ่งมีอายุตั้งแต่ 60 ปี สำหรับกลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 มีจำนวน 175 คน เลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย กลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 2 มีจำนวน 35 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 ประกอบด้วย แบบวัดความรู้ แบบวัดการรับรู้ความเสี่ยงต่อสุขภาพ และแบบวัดพฤติกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 2 คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับการรับรู้ความเสี่ยงต่อสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและที่พักอาศัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รูปแบบการจัดการที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้สูงอายุ ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ 1) โครงสร้างพื้นฐานของที่พักอาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และ 2) สิ่งอำนวยความสะดวกภายในที่พักอาศัย
References
Arphacharus, N., Thinsatit, U., Jamnongkarn, P., Wangkum, P., Tubtimsai, K., Suphaudomphon, T., & Nak-ai, W. (2022). The development of an-age friendly environment standard of practice. Journal of Health Science Research, 16(1), 1-12. (In Thai)
Biderman, A., Cwikel, J., Fried, A. V., & Galinsky, D. (2002). Depression and falls among community dwelling elderly people: A search for common risk factors. Journal of Epidemiology and Community Health, 56, 631–636.
Bloom, B.S. (1971). Taxonomy of Educational Objective Handbook 1. Summative Evaluation of student Learning. NewYork, U.S.A.: McGraw-Hill.Department of Health Service Support. (2024). Bang Kla District Elderly Information Report. Retrieved from https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_tambon?region=6&prov=MjQ=&provn=4LiJ4Liw4LmA4LiK4Li04LiH4LmA4LiX4Lij4Liy&id=2402&n=4Lia4Liy4LiH4LiE4Lil4LmJ4Liy/ [2024, 28 Jan.] (In Thai)
Division of Injury Prevention. (2023). Summary Report Assessment of Elderly Fall Knowledge Prevention 2023. Retrieved from https://ddc.moph.go.th/uploads/files/3714020230919075839.pdf [2023, 18 Dec.] (In Thai)
Khuankwai, K. (2007). Factors Related to Falls Among Community-Dwelling Elderly People. (Master of Public Health (Public Health)). Khon Kaen University, Khon Kaen. (In Thai)
Kongmaneekarn, J., Siriluck, P. & Nusorn, N. (2020). Provided environmental healthy aging. Journal of Nursing and Health Science Research, 12(1), 28-38. (In Thai)
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.
Muangsiri, K., Maharachpong, N. & Rodjarkpai, Y. (2017). Factors relating the behavior of fall prevention among elderly in Chonburi Province. Naresuan University Journal: Science and Technology,25(4), 23-33. (In Thai)
Moura, L.A., Araújo, J.N.M., Fernandes, A.P.N.L., Araújo, M.G., Silva, A.B., Olímpio, J.A., Souza, A.M.L. & Vitor, A.F. (2016). Fall prevention behavior among hospitalized elderly patients. International Archives of Medicine section: Global Health & Health Policy, 57(9), 1-9.
Rachamee, W., Jumpang, T. & Suksangpunya, L. (2022). Factors Affecting Falling and Falling in Elderly Health region 6. Chonburi, Regional Health Promotion Center 6. (In Thai)
Thai Health Promotion Foundation. (2018). Cope with Aging Society. Retrieved from https://www.thaihealth.or.th/?p=251176 [2023, 15 Jul.] (In Thai)
Tangtong, S. (2023). A development of health promotion model for aging in Chachoengsao Province. Department of health Service Support Journal, 19(2), 25-34. (In Thai)
Vannajak, K. & Vannajak, P.T. (2018). Falling in osteoporosis elderly:Cause and exercise for prevention.The Public Health Journal of Burapha University, 13(2), 141-150. (In Thai)
Wongcharoen, W., Inta, N. & Kongdang, K. (2022). Perceived risk of falling and fall prevention behaviors in older persons with osteoporosis. Journal of Nursing and Health Research (JNHR), 23(1), 96-109. (In Thai)
Wongsawang, N., Kitreerawutiwong, K. & Ruamsook, T. (2021). Home environmental management for health among older adults: Role of community health nursing. Journal of Research for Health Improvement and Quality of Life, 1(1), 68-77. (In Thai)
Yimratthanaborwon, S. (2018). The design development of elderly homes by universal design guidelines. Journal of the faculty of architecture King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, 26(1), 173-188. (In Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
โปรดกรอกเอกสารและลงนาม "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความในวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ก่อนการตีพิมพ์