Food Ingredient Planning for Laying Duck by using the Mathematical Model

ผู้แต่ง

  • พรพิมล ชัยวุฒิศักดิ์ ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลาดกระบัง กรุงเทพ 10520

คำสำคัญ:

สูตรอาหารเป็ดไข่, ตัวแบบคณิตศาสตร์, ความต้องการทางโภชนาการ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อสร้างสูตรอาหารต้นทุนต่ำของเป็ดไข่โดยใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ และหาค่าตอบที่ดีที่สุดโดยใช้ Solver add-ins ในโปรแกรมไมโครซอฟท์เอกซ์เซลเวอร์ชั่น 2013 งานวิจัยนี้ใช้โปรแกรมคณิตศาสตร์เชิงเส้นคำนวณหาสูตรอาหารสำหรับเป็ดไข่โดยมีฟังก์ชั่นเป้าหมายเพื่อให้ต้นทุนรวมของสูตรอาหารต่ำสุดภายใต้ความต้องการของปริมาณสารอาหารที่เป็ดไข่ในช่วงอายุที่แตกต่างกัน ได้แก่ อายุ 9 – 20 สัปดาห์, 24 – 48 สัปดาห์ และ 48 – 72 สัปดาห์ตามคำแนะนำของสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ ผลการศึกษาพบว่า สูตรอาหาร สำหรับเป็ดไข่ในช่วงอายุ 9 - 20 สัปดาห์ ประกอบด้วยวัตถุดิบ 5 ชนิด ได้แก่  มันสำปะหลัง (มันเส้น) 0.459 กิโลกรัม กากถั่วเหลือง 0.154 กิโลกรัม กากเมล็ดทานตะวัน  0.278 กิโลกรัม เปลือกหอยป่น 0.011 กิโลกรัม และกระดูกป่น 0.024 กิโลกรัม โดยราคาต่อกิโลกรัมเท่ากับ  8.486 บาท ในขณะที่วัตถุดิบสำหรับสูตรอาหารสำหรับเป็ดไข่ในช่วงอายุ 24 – 48 สัปดาห์ มี 4 ชนิด ประกอบด้วย มันสำปะหลัง (มันเส้น) กากเมล็ดทานตะวัน เปลือกหอยป่น และกระดูกป่น จำนวนเท่ากับ 0.326, 0.675, 0.049 และ 0.023 ตามลำดับ ราคาต่อกิโลกรัมเท่ากับ 8.598 บาท และวัตถุดิบที่ใช้ผสมสูตรอาหารสำหรับเป็ดไข่ในช่วงอายุ 48 - 72 สัปดาห์ มี 6 ชนิดประกอบด้วย มันสำปะหลัง (มันเส้น) กากถั่วเหลือง ใบมันสำปะหลังแห้งป่น กากเมล็ดทานตะวัน เปลือกหอย ป่น และกระดูกป่น จำนวนเท่ากับ 0.533, 0.065, 0.022, 0.297, 0.037 และ 0.024  ตามลำดับราคาต่อกิโลกรัมเท่ากับ 7.645 บาท โดยสูตรอาหารผสมสำหรับเป็ดไข่ในช่วงอายุ 9 – 20 24 – 48 และ 48 - 72 สัปดาห์ ที่ได้กล่าวในข้างต้นนี้มีต้นทุนต่ำกว่าราคาอาหารสำเร็จรูปโดยเฉลี่ยคิดเป็น ร้อยละ 40.79, 46.82 และ 50.67 ตามลำดับ

Author Biography

พรพิมล ชัยวุฒิศักดิ์, ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลาดกระบัง กรุงเทพ 10520

Applied statistics department, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang

References

Bureau of Animal Nutrition Development (2017). Animal nutrition knowledge. Retrieved September 8, 2017, from https://nutrition.dld.go.th/Nutrition_Knowlage/ nutrition_1.htm. (in Thai)

Bureau of Animal Nutrition Development (2017). Raw foods. Retrived September 8, 2017, from https://nutrition.dld.go.th/Nutrition_Knowlage/index_nutrition.htm. (in Thai)

Naksakul, O. (2017). Manufacturing and managing animal food to reduce product costs. Retrieved September 8, 2017, from https://ag-ebook.lib.ku.ac.th/ ebooks/2011/2011-013-0065/index.html.
(in Thai)

Nath, T. and Talukdar, A. (2014). Linear programming technique in fsh feed formulation. International Journal of Engineering Trends and Technology (IJETT), 17(3), 132-135.

Lonescu, A. (2013). Microsoft Offce Excel 2010: Operational research in excel 2010. International Journal of Computer and Information Technology, 2(5), 1026-579.

Raingthaisong, B. and Sukmok, J. (2010). Swine feed ingredient by linear programming model. Operations Research Network Conference 2010 (OR-Net 2010), Bangkok. (In Thai)

Sirirak, S. and Burintrapiban, N. (2014). Duck egg production and marketing in Songkhla province. Retrieved March 28, 2018, from https://pvlo-sgk.dld.go.th/th/images/ stories/reseach57/dug57.pdf. (in Thai)

Sobut, Y., Kanjanapruthipong, J. and Sookmanee, N. (2010). The calculation program for feeding dairy cows in humid climates. The 3rd National Conference on Information Technology (NCIT 2010), Bangkok. (in Thai)

Winston, W.L. and Venkataramanan, M. 2002. Introduction to mathematical programming: applications and algorithms, 4th ed., Duxbury Press.

Zioganas, C. (1983). Least – cost feed rations for sheep by linear programming. Journal of
economics and business, 33, 58-68.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-03-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Article)