ระบบการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนโดยการฉีดสเปรย์น้ำ ที่แผงคอยล์ร้อน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองเกี่ยวกับการติดตั้งระบบสเปรย์น้ำที่แผงคอยล์ร้อน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ชนิด 3 เฟส ขนาด 53,000 BTU/hr โดยเริ่มจากการออกแบบและติดตั้งระบบฉีดสเปรย์น้ำที่ด้านล่างแผงคอยล์ร้อน จำนวน 5 หัวฉีด จากนั้นทำการตรวจวัดการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศด้วยเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าร่วมกับการแสดงผลด้วยโปรแกรมแลบวิว โดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการติดตั้งระบบฉีดสเปรย์น้ำ ผลการวิจัยพบว่า หลังการปรับปรุงระบบแล้ว เครื่องปรับอากาศ มีความสามารถในการทำความเย็นเพิ่มขึ้นจาก 34,320 เป็น 44,400 BTU/hr คิดเป็น 1.3 เท่า หรือ 10,080 BTU/hr ประสิทธิภาพพลังงาน เพิ่มขึ้นจาก 7.90 เป็น 11.15 คิดเป็น 1.57 เท่า และคอมเพรสเซอร์ ใช้กำลังไฟฟ้าลดลง จาก 5.09 เป็น 4.77 kW คิดเป็น 1.07 เท่า หรือ 0.32 kW ระดับประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มจากเบอร์ 2 เป็นเบอร์ 5 ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า เครื่องปรับอากาศที่ติดตั้งระบบฉีดสเปรย์น้ำ ที่แผงคอยล์ร้อนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 178.07 บาทต่อเดือน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ก่อนเท่านั้น
References
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2563] จาก: https://www.egat.co.th/ index.php?option=com_content&view=article&layout=edit&id=353&Itemid=200.
กระทรวงพลังงาน. พพ. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561–2580 (EEP2018) พร้อมเพิ่มการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2563] จาก:
https://www.dede.go.th/ewt_news.php?nid=52335& ilename=index
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การใช้พลังงานของครัวเรือน พ.ศ. 2561. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2563] จาก:จากhttp://www.nso.go.th/sites/ 2014/Pages/ News/2562/N02-08-62-1.aspx
วัชระ มั่งวิทิตกุล. การลดค่าใช้จ่ายพลังงาน. กรุงเทพฯ: ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย; 2544.
ยุทธนา ศรีผา และคณะ. การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วน ด้วยชุดแลกเปลี่ยนความร้อนชนิดแผ่นเพลทแบบเชื่อมติดระบายความร้อนด้วยน้ำ (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. 2555.
ธีรพงศ์ บริรักษ์ และพงษ์สวัสดิ์ คชภูมิ. การเพิ่มสมรรถนะเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนโดยการลดอุณหภูมิคอนเดนเซอร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 2556; 4: 57-64.
ถวิกา ผาติดำ รงกุล และ จตุวัฒน์ วโรดมพันธ์. ประสิทธิภาพการใช้งานจริงของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนชนิดระบาย ความร้อนด้วยการระเหยน้ำ. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 2555; 9: 101-112.
เพียงจันทร์ โกญจนาท, สมพร พรหมดวง และสายสุนีย์ พงพัฒนศึกษา. เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนที่ติดตั้งแผ่นช่วยประหยัดพลังงาน. ใน รายงานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2562.
U.S. Department of Energy. (2014). ANSI/ASHRAE/IES Standard 90.1-2010. [Internet]. 2014. [cited 17Jul 2020]. Availability from: https://www.energycodes.gov/training-courses/ ansiashraeies-standard-901-2010
National Instruments. LabVIEWTM Getting Started with LabVIEW. National Instruments Corporate Headquarters. Austin, Texas USA. 2013.
ศิริพรรณ ธงชัย และพิชัย อัษฏมงคล. การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า. กรุงเทพฯ: ศูนย์พิมพ์ตําราเรียนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2548.
Chan, K.T. Yang, J. and Yu. F.W. Energy Performance of Chillers with Water Mist Assisted Air-Cooled Condensers paper presented in 12th Conference of International Building Performance Simulation Association. Sydney Australia; 2011.
เจษฎา วิเศษมณี. รูปแบบการระบายความร้อนด้วยน้ำที่ส่งผลต่อสัมประสิทธิ์สมรรถนะของระบบเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร, 2559; 10(2): 125-134.