วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (Science and Technology Journal of Sisaket Rajabhat University) เป็นวารสารทางวิชาการของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา นักวิจัย และอาจารย์ ในด้านการศึกษาและวิจัย โดยวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม)

บทความทุกเรื่องจะได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพื่อพิจารณากลั่นกรองความถูกต้องเชิงเนื้อหา และประเมินบทความตามเกณฑ์และแบบฟอร์มที่กำหนดในลักษณะปกปิดรายชื่อผู้เขียนบทความและผู้ที่เกี่ยวข้อง (Double-blind Peer Review) ซึ่งบทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน บทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนหรือเจ้าของผลงาน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

Focus and Scope  (วัตถุประสงค์และขอบเขต)

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขอบเขตการรับ

บทความวิจัย และบทความวิชาการในสาขาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้

  1. ด้านคอมพิวเตอร์
  2. ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  3. ด้านเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์และโยธา สถาปัตยกรรม
  4. ด้านโลจิสติกส์
  5. ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  6. ด้านเทคโนโลยีการเกษตร
  7. ด้านเทคโนโลยีการอาหาร

Types of Articles (ประเภทบทความที่รับ)

  1. บทความวิจัย
  2. บทความวิชาการ

Peer Review Policy (นโยบายการพิจารณาบทความ)

บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)

Publication Frequency (กำหนดการตีพิมพ์)

วารสารตีพิมพ์เผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี  ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน  และ  ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม

Language (ภาษาที่รับพิมพ์)

  • ภาษาไทย

Publisher (เจ้าของ/สำนักพิมพ์)

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

Open Access Policy (นโยบายการเข้าถึงแบบเสรี)

วารสารฉบับนี้เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างเสรี (open access) บนหลักการที่จะทำให้ผลงานการวิจัยได้เผยแพร่สู่สาธารณะได้อย่างอิสระ และสนับสนุนต่อการแลกเปลี่ยนความรู้ต่อกันในระดับโลกให้มีมากยิ่งขึ้น