การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัดของอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

พิมาย วงค์ทา
มินทร์ตรา ฉัตรแก้ว
วนิดา บุตรโชติ
อารยา อริยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัดของอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน โดยมีการพัฒนาระบบตามขั้นตอนของ SDLC Model (System Development Life Cycle) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้เว็บไซต์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ เครื่องมือในการจัดการฐานข้อมูล ได้แก่ MySQL โปรแกรม Sublime Text3 ภาษา PHP ภาษา Java สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบที่พัฒนาประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) ผู้ดูแลระบบ 2) ผู้ใช้ทั่วไป ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการข้อมูลวัด จัดการข้อมูลการประชาสัมพันธ์ จัดการปฏิทินกิจกรรมและการแสดงผลรายงาน และส่วนของผู้ใช้ทั่วไปสามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับวัด การประชาสัมพันธ์ และปฏิทินกิจกรรม การทดลองใช้ระบบมีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ อยู่ในระดับปานกลาง (x=3.32, S.D.=0.62)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานจังหวัดลำพูน. ประวัติจังหวัดลำพูน. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2563] จาก www.lamphun.go.th.

สุมนา บุษบก, ปวันนพัสตร์ ศรีทรงเมือง, อาณัติ รัตนถิรกุล และวรรษา พรหมศิลป์. การพัฒนาเว็บไซต์และสื่อมัลติมีเดียเพื่อเผยแพร่ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รายงานวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลสุวรรณภูมิ; 2562.

พิสุทรา อารีราษฎร์. การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์. 2551.

กนกวรรณ แก้วเกาะสะบ้า และถนอม ห่อวงศ์สกุล. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 2562; 6(1): 213-230.

นวรัตน์ วัฒนา, ธีรเดช รักไทย และกนกศักดิ์ เดื้ออิสระวิมล. การพัฒนาเว็บไซต์ต้นแบบแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านในจังหวัดนราธิวาส. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม, 2560; 4(1): 35-50.