การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยแบบดาบสองมือ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ชนะ ฤทธิธรรม
นิรุตติ์ สุขดี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยแบบดาบสองมือ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลของการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยแบบดาบสองมือ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 60 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 30 คน กลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวน 30 คน โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง 2) โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยแบบดาบสองมือ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) แบบทดสอบคุณภาพชีวิต (WHOQOL- BREF-THAI) ดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ ๆ ละ 3 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที ทำการทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง นำผลที่ได้มาวิเคราะห์และทำการทดสอบ โดยการใช้สถิติทดสอบ Independent Sample t-test และ PairedSample t-test เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการออกกำลังกายที่ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมเตรียมความพร้อมและสร้างความคุ้นเคย กิจกรรมออกกำลังกายด้วยดาบสองมือแบบเดี่ยว ความคุ้นเคย กิจกรรมออกกำลังกายด้วยดาบสองมือแบบคู่ และกิจกรรมผ่อนคลายด้วยดาบสองมือ จำนวน 16 ท่า และขั้นตอน การออกกำลังกาย 3 ขั้นตอน โดยมีดัชนีความสอดคล้อง 0.80 และ 2) ผลการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยศิลปะการต่อสู้ประจำชาติไทยแบบดาบสองมือ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย พบว่า 2.1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 2.2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่ากลุ่มควบคุมเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563] จาก:

https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2551.

สถาบันการพลศึกษา. ยุทธศาสตร์สถาบันการพลศึกษา. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563] จาก: http://www.ipe.ac.th

กรมสุขภาพจิต. (2561). เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI). [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2563] จาก: https://www.dmh.go.th/test/whoqol/

กิจจา ถนอมสิงหะ และจินตนา สรายุทธพิทักษ์. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมกา ออกกำลังกายโดยใช้ศิลปะมวยไทยเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED), 2560; 45(1): 1-17.

ปนิษฐา เรืองปัญญาวุฒิ และสุธนะ ติงศภัทิย์. ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยที่มีต่อสุขสมรรถนะของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED), 2557; 9(2): 87-101.

Abdelbasset, W. K., & Abdelhalim, N. M. Assessing the effects of 6 weeks of intermittent aerobic exercise on aerobic capacity, muscle fatigability, and quality of life in diabetic burned patients : Randomized control study. Burns, 2020; 46(5): 1193-1200.

วารี วิดจายา, ปัทชา กระแสร์เสียง, ศจีรา คุปพิทยานันท์ และณัฐวุฒิ ธานี. ผลของการฝึกไหว้ครูรำมวยไทยและโยคะต่อสมรรถภาพทางกาย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 2554; 11(2): 106-130.

Damayanti, M. R., Sudira, P. G., Karmany, N. P. G., and Kristianingsih, K. N. The effectiveness of exercise on the go program to nursing students’ physical fitness and quality of life in Bali. Enfermeria clinica, 2020; 30: 90-94.

] Liposcki, D. B., da Silva Nagata, I. F., Silvano, G. A., Zanella, K., and Schneider, R. H. Influence of a Pilates exercise program on the quality of life of sedentary elderly people: a randomized clinical trial. Journal of bodywork and movement therapies, 2019; 23(2): 390-393.

Awick, E. A., Ehlers, D. K., Aguiñaga, S., Daugherty, A. M., Kramer, A. F., & McAuley, E. Effects of a randomized exercise trial on physical activity, psychological distress and quality of life in older adults. General hospital psychiatry, 2017; 49: 44-50.