ผลของโปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ระรินทิพย์ ธรรมเจริญ

บทคัดย่อ


การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด จำนวน 80 ราย จำแนกเป็น กลุ่มทดลองจำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี และแบบสอบถาม ระยะเวลาในการวิจัย 12 สัปดาห์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมานใช้ Paired t-test และ Independent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง (Mean = 25.38; S.D. = 2.45) ความรู้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนอยู่ในระดับสูง (Mean = 8.12; S.D. = 1.22) พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง (Mean = 26.38; S.D. = 2.43) ซึ่งค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม และการประเมินความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มยังคงอยู่ในระดับสูง (Mean = 7.38; S.D. = 1.34) แต่ค่าเฉลี่ยคะแนนต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value < 0.05  


Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Center for Disease Control and Prevention (CDC). (2020). Self-reported falls and fall related injuries among persons aged > 65 years-United States. Morbidity and Mortality Weekly Report, 57(3), 225-26.

World Health Organization. (2022). World health statistics 2019: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. (Online). Available https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/ 324835/978924 (1 May 2022).

Jacob, L., Breuer, J. and Kostev, K. (2016). Prevalence of chronic diseases among older patients in German general practices. GMS German Medical Science, 14(1), 1-7.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2559. กรุงเทพฯ: พริ้นเทอรี.

ที่ทำการปกครองอำเภอม่วงสามสิบ. (2566). ทะเบียนราษฎร์. อุบลราชธานี: ที่ทำการปกครองอำเภอม่วงสามสิบ.

UCSF. Clinical & Translational Science Institute. (2021). Sample Size Calculaters. (Online). Available https://www.sample-size.net (1 May 2022).

Best, JW. & Kahn, JV. (2006). Research in Education. 10th Edition. Pearson Education Inc.: Cape Town.

เพ็ญนภา มะหะหมัด. (2563). ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มต่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการหกล้ม ในตำบลสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 5(3), 17-22.

Best, JW. & Kahn, JV. (1997). Research in Education. 8th Edition. Boston: Allyn & Bacon.

Bloom, BS. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.

Cronbach, LJ. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.

Grey, M., Schuman-Green, D., Knafl, K. and Reynolds, NR. (2015). The revised self-and family management Framework. Nursing Outlook, 63(2), 162-70.

Pender, NJ. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. 5th Edition. New Jersey: Pearson Education, Inc.

Gibson, CH. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced nursing, 21(6), 1201-1210.

Posma, ER., Van, JCM., Jansen, J. and Bensing, JM. (2009). Older cancer patients’ information and support needs surrounding treatment: An evaluation through the eyes of patients, relatives and professionals. BMC Nursing, 34(3), 99-109.

วิทยา วาโย. (2560). ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยต่อพฤติกรรมการ ป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 25-33.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และกรรณิการ์ เทพกิจ. (2560). ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 186-95.

Cho, SI. & An, DH. (2014). Effects of a fall prevention exercise program on muscle strength and balance of the old-old elderly. The Journal of Physical Therapy Science, 26(11), 1771-1774.

อาพัทธ์ เตียวตระกูล และอาทิตยา วังวนสินธุ์. (2562). การพัฒนาสมรรถภาพทางกายเพื่อช่วยในการทรงตัวและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 11(1), 89-99.

วิลาวรรณ สมตน ทัศนีย์ รวิวรกุล และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2560). ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข, 27(3), 58-70.

Milat, AJ., Watson, WL., Monger, C., Barr, M., Giffin, M. and Reid, M. (2011). Prevalence, circumstances and consequences of falls among community–dwelling older people: results of the 2009 NSW Falls Prevention Baseline Survey. NSW Public Health Bulletin, 22(4), 43–48