การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับติดตามรถรับส่งนักเรียน

Main Article Content

จุฑามณี รุ้งแก้ว
อารียา ตะเคียนราม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันติดตามรถรับส่งนักเรียน 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันติดตามรถรับส่งนักเรียน 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของแอปพลิเคชันสำหรับติดตามรถรับส่งนักเรียน การวิจัยโดยใช้กระบวนการ SDLC การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์แบ่งผู้ใช้ออกเป็นผู้ใช้งานประเภทพนักงานขับรถ กับผู้ใช้งานประเภทนักเรียน/ผู้ปกครอง การพัฒนาแอปพลิเคชันใช้โปรแกรม Android Studio ด้วยภาษา Java พัฒนาระบบนำทางด้วยเทคโนโลยีGoogle Map API ในการแสดงแผนที่บนสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และใช้ Firebase เก็บข้อมูลชนิดข้อมูลแบบเรียลไทม์ ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับติดตามรถรับส่งนักเรียน สามารถแสดงตำแหน่งปัจจุบันของรถ แสดงตำแหน่งบ้านของนักเรียน และแจ้งเตือนเมื่อรถเข้าใกล้บริเวณบ้านของนักเรียนในระยะ 500 เมตรได้ 2) ผลการหาประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน พบว่า แอปพลิเคชันสำหรับติดตามรถรับส่งนักเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยในภาพรวม  อยู่ที่ 4.02 และ 3) ผลประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มประชากรผู้ใช้งานแอปพลิเคชันจำนวน 21 คน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ที่ 4.13

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cartrack. (2561). GPS Tracking และรูปแบบของ GPS Tracking ที่ใช้กับยานพาหนะ. สืบค้น 5 เมษายน 2565, จาก https://www.cartrack.co.th/gps-tracking

ฉัตรไชย ภูอารีย์. (2561). การขับเคลื่อนมาตรฐาน ความปลอดภัยรถรับส่งนักเรียนพื้นที่นำร่องจันบุรี (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ศรีน้ำเพชร กิจสุวรรณ ณรงค์ กุลนิเทศ และณิช วงศ์ส่องเจ้า. (2561). การพัฒนาระบบติดตามรถยนต์และรถจักรยานยนต์ด้านนิติวิทยาศาสตร์ ด้วยเครื่อง GPS เพื่อป้องกันการโจรกรรม. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 (น. 528-537). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ณัฐสิรี นกแก้ว. (2563). คู่มือการสร้างแผนที่บนเว็บไซต์ด้วย Google Maps. กรุงเทพฯ: สำนักดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภชัย สมพานิช. (2557). Professional Android programming. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร. (2558). คู่มือเขียนแอพ Android ด้วย Android Studio. กรุงเทพฯ: บริษัท โปรวิชั่น จำกัด.

จีราวุธ วารินทร์. (2563). พัฒนาเว็บแอพพลิเคชันด้วย Firebase ร่วมกับ Vue.js. กรุงเทพฯ: ซิมพลิฟาย.

วรวิทย์ สังฆทิพย์ และจรัญ เจิมแหล. (2557). การพัฒนาระบบแนะนำเส้นทางการเดินทางโดยใช้ระบบนำทางผ่านดาวเทียม

ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชัยพร เขมะภาตะพันธ์. (2555). ระบบติดตามตรวจสอบตำแหน่งและเส้นทางรถยนต์ด้วยสัญญาณดาวเทียม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Loganathan, T., Kamalkishore, S., Navaneeth, N., Krishnasamy, N. and Thamaraimanalan, T. (2017). Bus Tracking System. International Journal of Scientific Research in Computer Science, Engineering and Information Technology, 2(2), 399-401.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC). สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2565, จาก https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.