เสียง: ผลกระทบต่อสุขภาพ การตรวจวัด ค่ามาตรฐาน และมาตรการป้องกันเสียงดัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมในประเทศไทยกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีการนำเครื่องจักรมาใช้งานมากขึ้น หนึ่งในอันตรายที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรมคือ เสียงดัง การรับสัมผัสเสียงดังในสถานที่ทำงานจึงเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายผลกระทบต่อสุขภาพของเสียงดัง การตรวจวัดระดับเสียง ค่ามาตรฐานการสัมผัสระดับเสียง และมาตรการควบคุมระดับเสียงดัง โดยผลกระทบต่อสุขภาพจากเสียงดัง ได้แก่ การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร รบกวนสมาธิในการทำงาน รบกวนการนอนหลับ และรบกวนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งประเทศไทยโดยกระทรวงแรงงาน ได้กำหนดให้นายจ้างควบคุมระดับเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับตลอดแปดชั่วโมงไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ กรณีระดับเสียงเกินค่ามาตรฐาน นายจ้างต้องดำเนินการควบคุมระดับเสียงโดยการควบคุมทางวิศวกรรมการบริหารจัดการ และการควบคุมที่ผู้ปฏิบัติ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ก่อนเท่านั้น
References
The National Institute for occupational Safety & Health (NIOSH). U.S. 2023. Retrieved 1 September 2023, from https://www.cdc.gov/niosh/topics/noise/surveillance/overall.html
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2560). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2560. สืบค้น 1 กันยายน 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/01_envocc_situation_60.pdf
กระทรวงแรงงาน. (2561). ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่างหรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
วันทนี พันธุ์ประสิทธิ์. (2561). สุขศาสตร์อุตสาหกรรม กลยุทธ์ ประเมิน ควบคุม และจัดการ. กรุงเทพฯ: เบสท์ กราฟฟิค อินเตอร์พริ้นท์.
กระทรวงแรงงาน. (2559). กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
วันดี ไข่มุกด์. (2555). โรคของหูชั้นนอก External ear diseases. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
Almaayeh, M., Al-Musa, A., and Khader, YS. (2018). Prevalence of noise induced hearing loss among Jordanian industrial workers and its associated factors. Journal Work, 61(2), 267-271.
จิราพร ประกายรุ้งทอง และสุวัฒนา เกิดม่วง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูญเสียการได้ยินจากการทำงานในกลุ่มคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 98-108.
กระทรวงแรงงาน. (ม.ป.ป.). แนวปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
กระทรวงแรงงาน. (2561). ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
พรพิมล กองทิพย์. (2560). สุขศาสตร์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: เบสท์ กราฟฟิค อินเตอร์พริ้นท์.